ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป >>
พระราชพงศาวดารเหนือ
พระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐ
ศิลาจารึก
พงศาวดารเขมร
พงศาวดารมอญพม่า
พงศาวดารล้านช้าง
พงศาวดารมอญพม่า
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21
หน้า 18 >>>
จ.ศ.1119 เดือนเก้า เกิดแผ่นดินไหว ฉัตรยอดพระเจดีย์มุตาวในเมืองหงษาวดีหักลงมา องค์พระเจดีย์ทลายลงมาเพียงคอระฆัง จากนั้นมังลองจัดให้ขุนนางพม่ากับไพร่พลพม่าพอสมควร อยู่รักษาเมืองหงษาวดี แล้วมังลองยกกลับไปเสวยราชย์ ณ เมืองมุกโชโบ ได้พระนามว่า อลองพราญี แปลว่าพระเจ้าหน่อพุทธางกูรใหญ่
จ.ศ.1121 เดือนสามพระเจ้ามังลองให้มังระบุตรน้อยเป็นทัพหน้า พระเจ้ามังลองเป็นทัพหลวง ให้มังลอกบุตรใหญ่อยู่รักษาเมืองมุกโชโบ แล้วยกทัพเข้าไปตีกรุงศรีอยุทธยา ตีเข้าไปทางเมืองทวาย เมืองตะนาว เมืองเพ็ชรบุรี เมืองราชบุรี จนถึงกรุงศรีอยุทธยา แล้วตั้งอยู่ฟากตะวันตกแห่งพระนคร ตั้งอยู่หกวันไม่ได้กรุงศรีอยุทธยา พระเจ้ามังลองเกิดวรรณโรคสำหรับบุรุษ จึงให้ล่าทัพกลับไปได้เที่ยวริบบาตรเหล็ก จีวรแพร ในอารามทั้งปวงไปมากนัก จีวรผ้านั้นเก็บเอาไปทำฟูกทำหมอน ทำถุงใส่เงิน ทำไถ้ใส่เสบียง และทิ้งเรี่ยรายไว้ตามทางก็มาก และริบเก็บเอาเงินทองของราษฎรไปก็มาก ครั้นถึงบ้านระแหงแล้วออกทางด่านนั้น ครั้นถึงตำบลแม่ประใน ปี จ.ศ.1122 เดือนเจ็ดก็สิ้นพระชนม์ ได้เป็นพระเจ้าแผ่นดินอยู่เจ็ดปี ราชบุตรคือ มังลอก แต่รามัญเรียกมังตกกีได้เป็นเจ้าแผ่นดินในเมืองมุกโชโบ จ.ศ.1125 เดือนสีบสอง มังลอกให้เกณฑ์ติงจาแมวมองคุมคนสามพันเป็นกองหน้า ให้เอาปะระกามะนีคุมคนเจ็ดพัน เป็นกองหนุนยกไปตีเมืองเชียงใหม่สี่เดือนจึงได้ มังลอกถึงแก่กรรมในเดือนสี่ เป็นเจ้าแผ่นดินอยู่ในเมืองมุกโชโบได้สามปี มองระผู้เป็นอนุชาได้ราชสมบัติ
จ.ศ.1126 ให้อแซหวุ่นกี้คิงจาโบ คุมไพร่พลหมื่นหนึ่งเป็นกองหน้า มองระคุมไพร่สองหมื่นเป็นทัพหลวงไปตีเมืองกะแซได้ กวาดเอาเชื้อวงศ์ และเจ้ากระแซมาเมืองมุกโชโบ
จ.ศ.1127 มองระ จากเมืองมุกโชโบมาเสวยราชย์อยู่ในเมืองอังวะ ในเดือนสิบสองให้ขับพกุงโบยานกวนจอมโบ คุมไพร่ห้าพันยกทัพหน้า ให้เมียนวุ่นเนเมียวมหาเสนาบดีคุมไพร่ห้าพันยกมาทางเหนือ ค้างเทศกาลฝนอยู่ ณ เมืองเชียงใหม่ ทางเมืองทวายให้เมคะราโปคุมไพร่ห้าพัน เป็นกองหน้า ให้มหานรทาคุมไพร่ พันหนึ่ง ยกมายังทัพอยู่ ณ เมืองทวาย ออกพรรษาแล้ว จึงยกเข้าตีได้กรุงศรีอยุทธยา แล้วจึงยกพลกลับเมืองอังวะในปี จ.ศ.1129 ในปี จ.ศ.1128
พวกฮ่อยกกองทัพเข้ามาถึงเมืองแสนหวีไกลกับเมืองอังวะทางห้าสิบวัน มองระให้ติงจาโบคุมไพร่ห้าพันเป็นกองหน้า อะแซวุ่นกี้คุมไพร่พันหนึ่งไปตี จ.ศ.1129 พวกฮ่อยกทัพเข้ามาอีก ถึงตำบลบ้านยองใกล้เมืองอังวะทางคืนหนึ่ง จึงให้อะแซวุ่นกี้โยลัดวุ่น และเมียนหวุ่นสามนายเป็นแม่ทัพ ถือพลุเป็นอันมากยกไปรบกับพวกฮ่อได้สามวันกองทัพฮ่อแตก
จ.ศ.1131 พวกฮ่อยกเข้ามาอีก กวยชวยโบ เป็นแม่ทัพคุมไพร่พลเป็นอันมาก ยกมาถึงเมืองกองดุงปะมอ ไกลจากเมืองอังวะสิบห้าวัน ให้อะแซวุ่นกี้เป็นแม่ทัพยกไป แม่ทัพสองฝ่ายตกลงขอให้ขาดสงคราม เป็นมิตรสันถวะ ก็เลิกทัพกลับเมืองอังวะ
เมื่อขณะกรุงศรีอยุทธยาจวนจะเสียนั้น พระยาตาก คุมพวกสามพันเศษ ตีฝ่ากองทัพพม่าออกไปได้ อาศัยอยู่ ณ เมืองจันทบุรี ครั้นพม่าตีได้กรุง และกวาดต้อนครอบครัวไทยอพยพไปแล้วนั้น พระยาตากจึงได้ยกกองทัพเรือพร้อมด้วยเสบียงอาหารเข้ามา ณ กรุง ยกไปเที่ยวปราบปรามคนทั้งหลาย ที่ตั้งตัวเป็นเจ้าเป็นนายซ่องอยู่หลายตำบลให้อยู่ในอำนาจแล้ว คนทั้งปวงจึงยกพระยาตากนั้นขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ครอบครองกรุงศรีอยุทธยาสืบไป และไม่ได้อยู่กรุงเก่า ตั้งเมืองธน ณ ตำบลบางกอก เป็นเมืองหลวง เที่ยวปราบปรามเมืองนครราชสีมา เมืองพิษณุโลก เมืองสวางคบุรี เมืองนครศรีธรรมราช เมืองทั้งสี่นี้แต่ล้วนตั้งตัวเป็นเจ้าทั้งสิ้น เที่ยวปราบไปสามปีจึงสำเร็จ ส่วนมองระเจ้าอังวะครั้งนั้นไม่เอาพระทัยใส่เมืองไทย ด้วยสำคัญว่าเมืองไทยแตกยับเยินไปแล้ว จึงไม่ระวังสอดแนมดู กองทัพฮ่อก็มาติดเมืองอังวะถึงสามครั้ง พระเจ้าตากจึงได้โอกาสเที่ยวปราบปรามหัวเมืองทั้งปวงถึงสามปีก็สำเร็จตั้วตัวได้
จ.ศ.1133 เจ้าวงษ์ ผู้เป็นเจ้าเมืองหลวงพระบาง ยกมาตีเมืองจันทบุรี เจ้าเมืองจันทบุรีบอกขึ้นไปเมืองอังวะ พระเจ้าอังวะให้เนมะโยเสนาบดีคือ โปสุพลา เป็นแม่ทัพลงมาตีเมืองหลวงพระบางได้ แล้วโปสุพลากลับขึ้นไปพร้อมทัพกัน ณ เมืองจันทบุรี ค้างเทศกาลฝนอยู่ที่นั้น