ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>

หอพระไตร


ธรรมบรรยายของ หลวงพ่อปัญญา

เรื่อง องค์สามของความดี

วันอาทิตย์ที่ 12 พฤศจิกายน 2515

2

ในเรื่องความตายบางพวกถือว่าตายแล้วเกิด คนเป็นอะไรก็เกิดเป็นอย่างนั้น บางพวกถือ ว่าคนตายแล้ว แต่มีการเปลี่ยนแปลงไปได้สุดแล้วแต่กรรม บางพวกว่าตายแล้วหมด เรื่องกัน แต่บางพวกว่าหมดแต่เพียงบางสิ่ง บางสิ่งยังคงเหลืออยู่

บางพวกว่าร่างกายกับวิญญาณอันเดียวกัน บางพวกว่าคนละอันการปฏิบัติจึงแตกต่างกันตามความเห็น ของตนๆ ทำให้สถานการณ์ทางศีลธรรม และปรัชญาอยู่ในสภาพที่ยุ่งยากพอใช้ทีเดียว แม้ในสมัยนี้ซากความเห็นต่างๆ ก็ยังมีอยู่ เราจึงเห็นการปฏิบัติของโยคีเป็นไปในรูป แปลกๆ เช่นบางพวกไม่นุ่งผ้าเลย บางพวกนอนกลางดินเหมือนสัตว์ เดรัจฉาน บางพวกก็กินอาหารอย่างสกปรก ดูแล้วเป็นสภาพที่น่าทุเรศและน่าสงสารเขา ก็โดยเข้าใจ ว่าจักเป็นทางพ้นทุกข์ได้สมหมาย นี่เป็นความเห็นที่พระบรมครูได้แสดงออกมาแก่พวกเรา ทั้งหลาย อันเป็นเรื่องที่ควรจะศึกษาให้เข้าใจ

ความเห็นถูกหรือความเข้าใจถูกทางในพุทธธรรม จึงเป็นเรื่องที่พอมองเห็นได้ด้วยการตรึกตรองตาม เป็นความเห็นถูกหรือ ความเข้าใจถูกทางในทางพุทธธรรม เป็นความเข้าใจที่ควรศึกษาเพื่อทำตนให้พ้นจากทุกข์ แต่ก่อนที่จะศึกษาความเห็นถูกอันเป็นชั้นยอดนี้ เราลองไต่ตามความเห็นชั้นง่ายๆ เสียก่อน เป็นความเห็นที่ควรทำความเข้าใจในเบื้องต้น เป็นการเตรียมตัวเพื่อความเห็นชอบชั้นสูงต่อไป จักได้นำความเห็นชั้นต่ำมาพิจารณาเป็นข้อๆ

เห็นหลักกรรม "กัลยาณการี กลฺยาณัง ปาปการี จ ปาปกัง - ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว "คำพูดเพียง 8 คำนี้ เป็นคำพูดที่อมความจริงไว้มาก เป็นคำที่เราควรศึกษาสนใจ เป็นคำที่ถ้าเข้าใจและทำตามแล้วก็นำความสุขความเจริญมาให้ และถ้าไม่เข้าใจ ไม่ทำ ตามก็นำความทุกข์มาให้ได้เช่นเดียวกัน จึงเป็นเรื่องที่ชาวพุทธควรทำความเข้าใจกัน ก่อนเป็นเบื้องต้น ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นคำสอนที่มีทั้งเหตุผลอยู่ในตัวอย่างชัดเจน "ทำดีเป็นเหตุ ได้ดีเป็นผล ทำชั่วเป็นเหตุ ได้ชั่วเป็นผล" การกระทำก่อให้เกิดผลแก่ผู้ กระทำ หลักนี้เป็นหลักใหญ่ เรียกว่าหลักกรรม คำว่า กรรม แปลว่าการกระทำเป็นไป ได้ทั้งเหตุและผล เมื่อมีการกระทำ ผลของการกระทำก็เกิดแก่ผู้กระทำ และส่ง ผลกว้างออกไปถึงคนอื่นด้วย

เหมือนการที่เอาก้อนหินปาลงไปในน้ำ ด้วยแรงดันของ ก้อนกินทำให้น้ำกระเพื่อม ทำให้ปลาในน้ำเกิดความรำคาญ ทำให้ตลิ่งพังเกิดการเสีย หาย ผลเกิดทยอยกันไปตามลำดับ ในภาษาสมัยใหม่พูดว่า กิริยาและปฏิกิริยา กิริยาคือ การกระทำ ปฏิกิริยาหมายถึง การกระทำตอบอันเป็นตัวผล เช่น เราเอาฝ่ามือทั้ง 2 ข้างตบกันเป็นกิริยา เกิดเสียงดัง เจ็บฝ่ามือ หนวกหหูคนที่อยู่ใกล้เคียง เป็นปฏิกิริยาที่ เกิดขึ้นตามลำดับ ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ เป็นอยู่ในอำนาจแห่งกรรมทั้งนั้น อาการ หมุนของโลกการเดินของดวงดาว การเดินของดวงอาทิตย์ ก็เป็นเหตุให้เกิดการเปลี่ยน แปลงในทางดินฟ้าอากาศ การเปลี่ยนแปลงในทางดินฟ้าอากาศ ก่อให้เกิดมี การออกดอกออกผลของต้นไม้ คนได้เก็บมารับประทานหล่อเลี้ยงร่างกาย ทำให้เกิด ความสุขสบายในเมื่อรับเอาแต่พอดีพอควร เกิดเป็นโทษเพราะรับเอาเกินพอดีไป ความเป็นไปของสากลจักรวาลทั้งหมดอยู่ในอำนาจของกรรม พ้นจากกฏนี้ไปไม่ได้เป็นอัน ขาด

ไม่มีสิ่งใดที่จักเกิดขึ้นและเป็นอยู่โดยมิได้อาศัยกรรม ต้องมีกฏนี้เข้าไปแทรก แซงอยู่เสมอ และที่ทุกอย่างดำเนินไปได้เป็นปกติ ก็เพราะยังมีกรรมของมันอยู่ ถ้าหาก หมดกรรมลงเมื่อใดแล้วก็แตกสลาย แต่การสลายตัวของสิ่งหนึ่ง ทำให้เกิดสิ่งอื่นต่อไป อีก เช่นต้นไม้ต้นหนึ่งตายก็กลายเป็นไม้ท่อน คนเราเอาไม้ท่อนไปทำรถ ทำเรือน ทำอะ ไรหลายอย่าง ถ้าวัตถุที่ถูกทำนั้นตายคือผุต่อไปอีกก็กลายเป็นปุ๋ยก่อให้เกิดเป็นอาหาร แก่หญ้าแก่ต้นไม้ต่อไป วัตถุทั้งปวงในโลกจึงมิได้หายไปจากโลก มันหมุนเวียนเป็นสัง สารวัฏฏ์วนไปมาอยู่เสมอ เป็นเรื่องไม่จบ แต่เป็นวงกลมที่ไม่มีการตั้งต้นและไม่มีที่สุด เป็นแต่อาศัยเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปๆ แล้วก็เกิดขึ้นอีก เป็นวงเวียนตลอดสายจึงเรียกว่า เป็นไปตามอำนาจของกรรม

"กมฺมุนา วตฺตติ โลโก - โลกหมุนไป ตามกฏของกรรม" เรื่องของโลกเป็นเช่นใด เรื่องของชีวิตก็เป็นเช่นกัน ที่จริงชีวิตเราก็เป็นโลก เหมือนกัน เรียกว่า สัตวโลก โลกคือ หมู่สัตว์ สัตว์โลกทั้งปวงเกิดดับไปตามอำนาจ ของกรรม กรรมนั้นเป็นของเขาผู้กระทำ กระทำแล้วก็เกิดผลแก่เขาต่อไป สัตว์โลก เช่นมนุษย์เป็นผู้มีร่างกาย มีใจครองร่างกาย กายกับใจมีส่วนสัมพันธ์กันมาก และก่อให้ เกิดเรื่องราวมากหลาย การกระทำของกายและใจเป็นกรรมทั้งนั้น

เช่นเรายกมือ เดิน กิน พูด เราทำทุกอย่าวเป็นเรื่องของกรรม ส่วนใจก็ทำหน้าที่ในทางคิดค้นนึกไปใน เรื่องของกรรม ส่วนใจก้ทำหน้าที่ในทางคิดค้นนึกไปในเรื่องต่างๆ การกระทำของกาย โดยไม่มีการบังคับจากใจ ยังไม่จัดเป็นกรรมที่จักก่อให้เกิดผลแก่ผู้กระทำในทางเป็นบุญ เป็นบาป เรียกตามภาษาธรรมะว่า ยังไม่มีเจตนา

ดังพุทธดำรัสว่า "เจตนาหัง ภิกขะเว กัมมัง วะทามิ - ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวเจตนาว่าเป็นตัวกรรม" เจตนาแปลว่า ความจงใจความตั้งใจที่จะทำ เช่น การทำให้สัตว์ตาย ถ้าเราเดินไปและไม่ได้เห็นว่า มีตัวสัตว์อยู่บนพื้นดิน เหยียบมันตาย การกระทำเช่นนี้ไม่ก่อให้เป็นบาปในทางใจ แต่เจ้า สัตว์ตัวนั้นต้องตายโดยไม่ได้อะไร เป็นการตายเปล่า เพราะผลกรรมของมันที่เดินมา ขวางอยู่ตรงนั้น ฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่า ผลของกรรมเป็นไปในด้านวัตถุอย่างหนึ่ง เป็น ไปในด้านจิตใจหรือนามอย่างหนึ่ง ผลกรรมที่เกิดเพราะผลทางด้านวัตถุไม่จัดเป็นบุญเป็น บาป เรื่องบุญบาปเป็นเรื่องทางด้านจิตใจโดยเฉพาะ

ส่วนกรรมที่มีเข้าประกอบก็จัดเป็นบุญเป็นบาปได้ บุญบาปก่อให้ชีวิตของผู้กระทำหมุนเวียนไปสู่ความสุขบ้างทุกข์บ้าง สุดแต่อ ย่างไหนเกิดขึ้น ดังที่กล่าวว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว นั่นเอง เรื่องดีชั่วเป็นเรื่องของ แต่ละบุคคล เป็นเรื่องของใจโดยแท้ ไม่ใช่เรื่องของวัตถุ ผู้ใดทำผู้นั้นได้รับผลของ การกระทำนั้น หาก่อให้เกิดการกระทบกระเทือนทางใจแก่ใครไม่ แต่อาจมีการกระ ทบกระเทือนทางวัตถุกันบ้าง เพราะเรื่องของวัตถุก็เกิดผลทางด้านวัตถุ เรื่องของใจก็ เกิดผลทางด้านจิตใจ ความดีความชั่วเป็นเรื่องของใจล้วนๆ เมื่อเป็นเรื่องของใจ ผลก็ต้องเป็นไปในทางใจโดยส่วนเดียว ฉะนั้นคำที่ตรัสว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว จึงเป็น ความจริงแท้ไม่เปลี่ยนแปลง

เพื่อให้เข้าใจชัดเรามาพิสูจน์อีกสักเล็กน้อย อันที่กระทำความดี ก่อนลงมือกระทำ ต้องมีความคิดเกิดขึ้นก่อน เช่น คิดจะทำทาน จะรักษาศีล จะไปนั่งภาวนาเพื่อ ความสงบใจ ความคิดเช่นนี้เป็นความคิดในด้านดี เป็นเรื่องของใจ ในขณะที่ใจ คิดอย่างนี้ เรียกว่า การทำกรรมโดยใจ เป็นมโนกรรม คนที่คิดเช่นนี้ ถ้าใจของเขา ไม่มีความชั่ว เมื่อคิดจะทำทาน ความโลภไม่มี ความเห็นแก่ตัวไม่มี เมื่อจะรักษาศีล ความเกลียดไม่มี ความพยาบาทไม่มี ความคิดจะฆ่า จะลัก จะประพฤติผิดในกาม หรือ จะพูดจาหลอกลวงใครไม่มีอยู่ในใจของเขา เขาเริ่มได้ความดีแล้ว เหมือนจะจุดตะ เกียงให้แสงสว่าง พอขีดไม้ขีดไป ก็ได้ความสว่างแล้วนิดหนึ่ง พอจุดตะเกียงความส่วางก็มากขึ้น

ในเรื่องการกระทำความดีก็เช่นกัน พอคิดก็ได้แล้ว ลงมือทำก็ได้ความดี เพิ่มขึ้นในใจ ทำไปไม่หยุดความดีก็เพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดความสะอาด สงบ สว่าง ใน ทางใจ นี่แหลผลของการกระทำความดี ในด้านความชั่ว การฆ่า การลัก การประพฤติผิดในกาม การพูดโกหก พูดหยาบ พูดเหลวไหล พูดยุให้คนแตกจากกัน การดื่มกินของมึนเมาอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท เหล่านี้เป็นความชั่ว เพราะเป็นการกระทำที่ทำลายตนทำลายท่าน ผู้รู้กล่าวติว่าเป็นสิ่ง ไม่ดี ลองนึกถึงตัวเราเองสักเล็กกน้อย คนที่ใจดีใจงามอยู่จักทำสิ่งเหล่านี้ได้ลงคอ ไหมทำไม่ได้ เมื่อจะทำชั่วเริ่มเศร้าหมอง

เหมือนบ้านจะมืดตะเกียงเริ่มหรี่เพราะหมดน้ำมัน พอน้ำแห้ง ตะเกียงดับทันที ความมืดปรกฏออกมาให้เห็น คนทำบาปก็เช่น เดียวกัน เขามีความตั้งใจในทางผิดเกิดขึ้นเป็นความชั่ว และทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น จนกระทั่งทำบาปได้โดยปราศจากความยับยั้ง ผลที่เกิดทางใจก็คือความเศร้าหมองทวี จำนวนมากชึ้น ใจเป็นบาปหนักเพราะความเศร้าหมองนั้นๆ นี่เป็นคววามชั่วที่เขาได้รับ ทุกครั้งขณะทำชั่วอันคนที่ทำชั่วนั้นๆ นี่เป็นความชั่วที่เขาได้รับทุกครั้งขณะที่ทำชั่ว อัน คนที่ทำชั่วนั้น ทำทีละน้อยๆ ไปก่อน ค่อยทวีจำนวนมากขึ้น จนชินและรู้สึกตัวต่อความชั่ว เหมือนคนที่ไปทำงานที่สกปรก เช่นทำงานถ่ายอุจจาระ นานเข้าจมูกชินกับกลิ่นนั้น ความรู้สึกว่าสกปรกหายไปจากใจ เขาก็จับถึงอุจจาระได้สบายเหมือนจับถังข้าวต้ม

คนที่ทำชั่วก็เป็นเช่นนั้น ทำหนักเข้าก็กลายเป็นคนชั่วชนิดด่ำดื่ม ถอนตัวไม่ออก ใจของ เขาถูกเย็บย้อมพัวพันรัดรึงกับควมชั่วเสียแล้ว เป็นเรื่องน่ากลัวโดยแท้ ความดีความชั่ว เป็นเรื่องของใจก่อน เมื่อใจมีความดี การกระทำก็เป็นไปในทางดี เป็นการเพิ่มความดี ให้แก่ตน ถ้าใจมีความชั่วการกระทำก็เป็นความชั่ว เป็นการเพิ่มความชั่วให้แก่ตน การ เพิ่มความดีเป็นความสุขการเพิ่มความชั่วเป็นความทุกข์ ท่านชอบอย่างไหน

ในสมัยนี้มีคนจำนวนมาก มีความเข้าใจผิดจากความจริง เขาเข้าใจคำว่าคำ สอนที่ว่า ทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว เป็นสิ่งที่ไม่จริง โดยอ้างว่าบางคนทำชั่วแต่เห็นเขาร่ำ รวยมีกินมีอยู่ดีบางคนเป็นซื่อตรงสุจริต แต่ลำบากยากจนต้องหาเช้ากินเย็น ความเป็น อยู่ลำบากเต็มที เขาจึงกล่าวติหลักธรรมข้อนี้ว่าเรื่องเหลวไหล ไม่เป็นจริง เป็นเช่นนี้มีอยู่มากเหมือนกัน เพราะเขาตีความหมายผิดไปจากหลักเดิม เข้าใจว่า ได้ดีได้ ชั่วเป็นเรื่องของวัตถุเงินทองไปเสีย เขาจึงเขวไปจากแนวทางของความเห็นชอบ และเมื่อแขวก็เป็นเหตุทำให้ทำผิดไปได้มาก มีตัวอย่างอยู่มากมายในสมัยนี้

ที่จริงคำสอนนี้ ท่านพูดให้ฟังอย่างง่ายๆ ที่สุดว่า "ทำได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว" ดีกับชั่วเป็นคุณภาพของ จิตใจ ต้องได้ดีเมื่อมีการกระทำ ส่วนวัตถุต่าง ๆนั้นมันเป็นผลพลอยได้อีกทีหนึ่ง อาจได้ เร็วหรือช้าสุดแล้วแต่การประกอบ เพราะการประกอบกรรมที่จะให้ได้ผลทางวัตถุนั้น ต้องรอเวลา ต้องรอบุคคล ต้องรอสถานที่ และต้องมีการประกอบให้ตรงกับสิ่งเหล่านี้ ถ้า พลาดไปก็ยังไม่เกิดผลและทำให้เข้าใจผิดเป็นอื่นไปก็ได้

เหมือนการปลูกต้นไม้และหวังผล ต้องรอไปหน่อยอย่าใจร้อน ถ้าร้อนใจก็เป็นทุกข์ และเป็นความเศร้าหมองแก่ตนโดยใช่เหตุ ให้ทำความเข้าใจเสียก่อนว่า ผลที่ได้ก่อนเป็นเรื่องทางใจ แล้วต่อมาก็เป็นเรื่องทางวัตถุ เช่นว่า ท่านเป็นข้าราชการไปทำงาน ถ้าท่านไปทำงานดีตลอดมา ท่านได้ความสบายแล้ว ต่อมาก็ได้เลื่อนยศขึ้นเงินเดือนสูงขึ้น ถ้าท่านขาด สาย หรือทำงานอย่างขาดตกบกพร่อง ขั้นต้นท่านก็ร้อนใจ ต่อมางานเสียหนักเข้าพอผลกรรมสุกกรอบดี ท่านก็ตกจากตำแหน่ง นี่เป็นผลที่เกิดมาตามลำดับ เป็นเรื่องจริงทั้งนั้น

จึงควรได้ตั้งไว้เป็นกฎว่า "ทำดีได้ความดีในทางใจก่อน ความดีในใจเป็นทาง ให้ได้วัตถุ" วัตถุทีได้มาโดยควมดีเป็นสิ่งให้ใจสบาย ในที่สบายเห็นเหตุให้สงบ สะ อาด สว่าง ทำความชั่วได้ความชั่วในทางใจก่อนความชั่วเจริญในก็หมดทรัพย์สิน คน หมดทรัพย์ต้องมีความทุกข์ ความทุกข์ทำให้ใจเป็นบาปและบาปหนักขึ้น

ใคร่จะแนะนำอีกสักเล็กน้อย เกี่ยวกับการทำกรรมเพื่อหวังผลแก่ตน ผู้กระทำที่มี ความเชื่อในทางผลกรรมแล้วว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นเรื่องของใจก่อน ผลเป็น วัตถุเป็นสิ่งตามมาทีหลัง เป็นของแน่นแน แต่การเป็นอยู่ในโลก เราอยู่กับคนที่มีนิสัยใจ คอไม่เหมือนกัน มีความคิดเห็นแตกต่างกัน การอยู่ร่วมกันต้องเรียรู้นิสัยใจคอกันบ้าง พอให้รู้ใจว่าใครชอบอย่างไร เพื่อจักได้ปฏิบัติตนให้พอเหมาะพอควรกัน การกระทำ อะไรทุกอย่างต้องเป็นไปในรูปพอดี และเหมาะแก่กาละเทศะเสมอ ถ้าขาดความพอดี ไม่เหมาะแก่กาละเทศะผลก็ไม่อำนวยให้แก่ตนได้

ฉะนั้นการทำความดีที่หวังผลทางวัตถุ ต้องเข้าใจว่าวัตถุที่คนจักพึงได้นั้น จะได้จากไหน ใครเป็นผู้อำนวยให้วัตถุอันนั้นมาบ้าง แล้วคิดต่อไปว่าคนนั้นๆ เขาชอบในทางไหน ต้องหาทางเข้าถึงจิตใจของเขา แต่ไม่ทิ้งความดีของเรา การทำความดีในบางครั้งอาจไม่เป็นที่พอใจของคน บางคนก็ได้ เมื่อเขาไม่พอใจ เขาก็เป็นปรปักษ์กับเรา เราเองต้องได้รับความเบียด เบียนจากเขา เรื่องมันยุ่งอยู่เหมือนกัน เพราะการกระทำที่ไม่ถูกกาล และบุคคล จึง เป็นความจำเป็นต้องทำให้เหมาะแก่กาลเวลา

ผู้ใหญ่บางคนก็มีศีลธรรมดีบางคนก็ปราศจากศีลธรรม ถ้าเราอยู่ใต้บังคับบัญชาของคนที่มีศีลธรรม ก็ไม่สู้ลำบากนัก แต่ถ้า ได้คน่ขาดศีลธรรมก็เดือดร้อน จึงต้องหาทางออกให้แยบคาย อย่าทำสิ่งใดที่เขาไม่ชอบ ใจ การทำดีนั้นมีหลายอย่าง เหมือนทางเดินมีหลายทางถ้าทำดีแบบนี้คนอื่นเขาขัดใจ เราก็เปลี่ยนทำอย่างอื่นเสียก็ได้ ถือหลักว่าอย่าขัดใจเขา และเราก็ไม่เสียคนเป็นใช้ ได้ หรืออีกประการหนึ่ง การทำดีอย่างเดียวไม่เพียงพอ แต่ต้องเป็นความชอบด้วย เช่นชอบใจผู้บังคับบัญชา ชอบด้วยตัวบทกฏหมายชอบด้วยเวลาชอบด้วยภูมิประเทศ และ ชอบด้วยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น อย่างนี้เป็นความชอบ ถ้าดีกับชอบมารวมกันเมื่อใดผลก็จะ เกิดขึ้นทันที

จงคอยกำหนดดูคนที่เขาก้าวหน้าในทางงาน เขาต้องมีความดีส่วนตนอยู่ ก่อน เช่นมีความรู้ดี มีความประพฤติดี เมื่อมีความดีอย่างนี้แล้วก็พยายามเข้าหาเจ้า นายไว้บ้าง ทำดีชนิดที่นายชอบให้เหมาะแก่โอกาส เขาก็เป็นที่คุ้นเคยกับนายเวลา เวลาจะเลื่อนคนเลื่อนเงิน เป็นธรรมดานายจะต้องนึกถึงคนใกล้ และคนที่รู้จักก่อนเสมอ เรื่องนี้เป็นธรรมดาของโลกหนีไม่พ้น คนอยู่ในโลกต้องเรียนรู้ไว้บ้าง แต่คนใดที่ ทำดีไปฝ่ายเดียว โดยไม่ทำให้เป็นที่ชอบใจนาย ไม่เป็นที่รู้จักของนาย ทางเดินมันตัน บ่อย ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะใช้ธรรมะไม่ถูกกาละเทศะนั่นเอง จึงขอฝากความคิดนี้ไว้ ด้วย

ส่วนบุคคลที่กระทำความดีโดยหวังเอาความดีแท้ๆ นั่นไม่มีปัญหาอะไร เขาจักต้อง ได้ความดีตอบแทนเสมอ คนเช่นนี้แหละเป็นคนนำความสงบสุขมาสู่โลก ว่ากัน ตามความจริงแล้ว ควรทำดีเพื่อความดี ทำงานเพื่องาน อย่าไปหวังผลจากอะไร จากสิ่งนั้น ปล่อยให้ผลมันเกิดขึ้นเองตามเรื่องของมัน เราเองมีหน้าที่แต่เพียงกระทำ เท่านั้น เมื่อทำกิจเสร็จแล้วก็เป็นอันหมดเรื่องกัน อย่างนี้ใจสบาย ความทุกข์ไม่เกิด เพราะต้องการอะไรแล้วไม่ได้สมหวัง

เรื่องของกรรมเป็นหลักสำคัญมาก เป็นกุญแจสำคัญของการแก้ไขปัญหาของชีวิต ถ้า เราหมั่นศึกษาสนใจก็มักมองเห็นเหตุผลอย่างแจ่มแจ้งว่า ความสุข ความทุทกข์ ความดี ความชั่ว ความเสื่อม ความเจริญทั้งมวล เป็นสิ่งเนื่องมาจากกรรมของตนเองทั้งนั้น เราเองเป็นผู้สร้างโชคชะตาของชีวิตให้แก่ตนเอง อนาคตของชีวิตขึ้นอยู่กับการกระทำ ในปัจจุบัน การเป็นอยู่ในปัจจุบันก็เนื่องมาเป็นลำดับโดยการกระทำของเราเอง หาใช่ โดยการกระทำของใครๆ ในที่ใดไม่ คนที่มีความเชื่อในเรื่องกรรม ย่อมไม่มีการลง โทษคนอื่น แต่จักลงโทษตนเองถ่ายเดียว

เขาจักคิดว่าเป็นความผิดของตนเองเท่านั้น คนอื่นเป็นแต่เพียงตัวประกอบ หาใช่ตัวการสำคัญไม่ การแก้ไขเหตุร้ายของชีวิตก็หันมาแก้การกระทำของตนเอง ไม่เที่ยวแก้ไขเหตุการณ์ภายนอก ผลของกรรมที่เกิดแก่ผู้กระทำนั้น เกิดขึ้นเองเพราะแรงดันของกรรม ไม่มีอะไรสิ่งใดมาอยู่เหนือกฏของกรรมอีก

เพื่อให้เห็นเหตุผลของกรรมชัดเจนขึ้น ขอยกเอาข้อความใน จูฬกัมมวิภังคสูตร อันเป็นสูตรที่แสดงถึงเหตุผลของเรื่องนี้ไว้โดยเฉพาะ ให้เห็นได้ว่า ความเป็นอยู่ของชีวิตของแต่ละบุคคลนั้นเนื่องจากกรรมอย่างไร ดังนี้คือ

1. คนมีอายุน้อย เพราะการฆ่าสัตว์ มีอายุยืน เพราะการไม่ฆ่าสัตว์
2. มีโรคน้อย เพราะไม่เบียดเบียนสัตว์ มีโรคมากเพราะเบียดเบียนสัตว์
3. มีผิวพรรณงาม เพราะไม่โกรธแค้นพยาบาท มีผิวพรรณทราม เพราะโกรธแค้นพยาบาท
4. มีความเป็นผู้สูงศักดิ์ เพราะไม่ริษยา มีศักดิ์ต่ำเพราะริษยา
5. มีทรัพย์มาก เพราะทำทาน มีทรัพย์น้อย เพราะตระหนี่
6. เกิดในตตะกูลสูง เพราะไม่กระด้างถือตัว รู้จักอ่อนน้อม เกิดในตระกูลต่ำ เพราะกระด้างถือตัว ไม่รู้จักอ่อนน้อม
7. มีปัญญาดี เพรารู้จักไต่ถาม และแสวงหาความรู้ มีปัญญาทรามเพราะไม่รู้จัก
ไต่ถาม ไม่แสวงหาความรู้

นี่เป็นหลักเกณฑ์ที่ควรนำไปพิจารณาเทียบเคียงกับความเป็นอยู่ได้
ดังที่กล่าวมาในวันนี้ ก็พอสมควรแก่เวลาจึงขอยุติธรรมะปาฐกถาไว้แต่เพียงนี้.

<< ย้อนกลับ


มองทุกให้เห็นจึงเป็นสุข
ทุกข์ซ้อนทุกข์
ไม่มีอะไรได้ดังใจเหมือนม้ากาบกล้วย
วันนี้เจ้าอยู่กับฉันพรุ่งนี้มันไม่แน่
มันเป็นเช่นนั้นเอง
ศีลธรรมและสัจจธรรม
แหล่งเกิดความทุกข์
องค์สามของความดี
หลักใจ
ทำดีเสียก่อนตาย
ตามรอยพุทธบาท
ฐานของชีวิต
ความพอใจเป็นทรัพย์อย่างยิ่ง
ชั่งหัวมัน
อนัตตาพาสุขใจ
ฤกษ์ยามที่ดี
อดีต ปัจจุบัน อนาคต
วิธีการสอนของพระพุทธเจ้า
สำนึกสร้างปัญญา
สอนลูกให้ถูกวิธี
ปฏิวัติภายนอกกับภายใน
ร้อนกายไม่ร้อนใจ
อย่าโง่กันนักเลย
การทำศพแบบประหยัด
คนดีที่โลกนับถือ
ความจริงอันประเสริฐ
เสรีต้องมีธรรม
ทาน-บริจาค
เกียรติคุณของพระธรรม
เกียรติคุณของพระธรรม (2)
พักกาย พักใจ
เกิดดับ
การพึ่งธรรม
อยู่ด้วยความพอใจไม่มีทุกข์
มรดกธรรม
ฝึกสติปัญญาปัญหาไม่มี
ทำให้ถูกธรรม
วางไม่เป็นเย็นไม่ได้

แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย

» ชาร์ลส์ ดาร์วิน
ชาร์ลส์ ดาร์วิน เป็นผู้มีบทบาทนำให้เกิดการศึกษาค้นพบทฤษฎีวิวัฒนาการมากที่สุด ดาร์วินเสนอควาามคิดเกี่ยวกับการคัดเลือกโดยธรรมชาติ

» สงครามครูเสด (THE CRUSADES)
ดินแดนปาเลสไตน์ อันเป็นถิ่นกำเนิดของ พระเยซูไครสท์นั้นถือกันว่าเป็นดินแดนศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งคริสต์ศาสนิกชน พากันไปจาริกแสวงบุญ ตั้งแต่ต้นคริสตกาล

» อาริสโตเติ้ล
อาริสโตเติ้ลเป็นชาวเมืองสตากีรา (Stagira) บิดารับราชการอยู่ในราชสำนักของพระเจ้าอามินตัส (Amyntas) กษัตริย์แห่งมาเคด็อน (Macedon)

» ยอดมนุษย์
เรื่องราวและชีวิตของพวกเขา บางเรื่องเป็นตำนาน เป็นเรื่องเล่า เป็นความจริง บางคนไร้ตัวตนบางคนล้มเหลว บางคนเป็นต้นแบบ เป็นอาชญากร

» รพินทรนาถฐากูร
หยุดเสียเถิดการสาธยาย การขับขานและการนั่งนับลูกประคำอะไรเหล่านี้ ท่านบูชาผู้ใดกันในมุมสลัวลาง...และเปล่าเปลี่ยวของเทวลัยที่หับบานประตูหน้าต่างมิดชิดรอบด้าน

» ประเทศไทย 77 จังหวัด
ประวัตศาสตร์,ความเป็นมา,ศิลปะ,วัตนธรรม,ประเพณีสถานที่สำคัญ,แหล่งท่องเที่ยว

» สงครามเวียดนาม
เอกราชของขบวนการชาตินิยมเวียดมินห์ ต่อต้านอำนาจของจักรวรรดินิยมเดิมคือ ฝรั่งเศส ต่อมาเมื่อฝรั่งเศสถอนตัวสหรัฐอเมริกาเข้ามาแทนที่และสนับสนุนเวียดนามใต้

» คาลิล ยิบราน
คาลิล ยิบราน ศิลปินผู้ใฝ่ฝ่ายจิตนิยม เขามักจะเทศนาหลักธรรมะ ด้วยการแสดงออกทางศิลปกรรม