ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>
เรื่อง ความพอใจเป็นทรัพย์อย่างยิ่ง
วันอาทิตย์ที่ 5 กันยายน 2519
ญาติโยมพุทธบริษัททั้งหลาย
ณ บัดนี้ถึงเวลาของการฟังธรรมะปาฐกถา
อันเป็นหลักคำสอนในทางพระพุทธศาสนาแล้ว ขอให้ ทุกท่านอยู่ในอาการสงบ
ตั้งอกตั้งใจฟังด้วยดี เพื่อให้ได้ประโยชน์อันเกิดขึ้นจากการฟัง
ตามสมควรแก่เวลา
วันนี้ท้องฟ้าอากาศครึ้มไปหมด ฝนดูท่าทางมันจะตกกันตลอดวัน
เมื่อวานนี้ก็ตกวันนี้ก็ตก ในกรุงเทพฯ เมื่อวานอาตมาเข้าไปเทศน์
น้ำท่วมเหมือนกับวิ่งรถไปในคลองแล้ว น้ำทางเหนือยังไม่มาแต่ว่าน้ำบนฟ้า
ตกลงมามากเหลือเกิน เลยท่วมไปในถนนบางสาย ตอนเย็นไปเผาศพกับคุณสมัคร
สุนทรเวชพูดกันว่าน้ำ ท่วมถนน เลยบอกดีเหมือนกันน้ำท่วม
จะได้หาสาเหตุว่ามันท่วมเพราะอะไร จะได้แก้ไขต่อไป ถ้า
หากว่าน้ำไม่ท่วมก็ไม่ได้ค้นสาเหตุที่เกิดขึ้น มันเป็นบทเรียนทั้งนั้น
เป็นเครื่องเตือนจิตสะกิดใจให้เราได้ คิดได้ค้นได้ศึกษาหาทางแก้ไขกันต่อไป
เรื่องดินฟ้าอากาศมันเรื่องของธรรมชาติ ซึ่งไม่มีใครจะไปหักห้าม ได้
จะทำให้เกิดก็ไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องของธรรมชาติ
ถึงเวลาตกเขาก็ตกถึงเวลาหยุดเขาก็หยุด ไป ตามเรื่องตามราว
ไม่มีใครจะไปบังคับว่าตกเวลานั้นหยุดเวลานี้มันทำไม่ได้
แม้จะทำฝนเทียมก็ต้องมี ธรรมชาติคือมีเมฆมีอะไร
ถ้าไม่มีเมฆฝนมันก็ไม่ตกเหมือนกัน จึงเป็นเรื่องธรรมดาที่มีขึ้นในสังคมโลก
เรา อย่าไปทุกร้อนกับฝน เรื่องแดดเรื่องอะไรต่างๆ ไปตามเรื่องตามราว
ว่ากันตามจริงญาติโยมที่มาฟัง ปาฐกถาในวันนี้ ก็ยังน่าชมน้ำใจที่ไม่กลัวฝน
ฝนตกก็มาได้
คิดอยู่ในตอนเช้าว่า โยมคงจะไม่มาไม่ออกจากบ้าน เพราะฝนตก
แต่ก็ยังมากันตามปกติ ที่เคยมาก็มาตามปกติไม่กลัวฟ้ากลัวฝน
ในตอนเย็นนี้พวกเด็กๆ เขาแจกประกาศนียบัตร จัดทำกันพอสมควร กางเต้นกันใหญ่
แต่ว่าฝนก็ไม่ปราณีเขาตกตามเรื่องของเขา เราก็ไม่มีความทุกข์ความร้อนอะไร
ตามภาวะของมันเป็นอย่างไรก็ทำไปอย่างนั้น ไม่ใช่เรื่องที่จะต้อง วิตกกังวล
จนเป็นเหตุให้เกิดความทุกข์ความเดือดร้อนใจ
เรามาทำจิตใจให้สบายอย่าไปหวั่นไหวต่อสิ่ง ที่เกิดขึ้น
ให้นึกว่ามันเป็นเรื่องธรรมดาที่จะต้องเกิด จะต้องเป็นไปในรูปเช่นนั้น
แล้วเราก็จะไม่มีความ ทุกข์ความเดือดร้อนใจ คือมีความพอใจ แล้วมันก็สบายใจ
ความพอใจในธรรมะเขาเรียกว่า สันโดษ
พูดถึงเรื่องสันโดษ คนบางคนไม่เข้าใจความหมาย หาว่าเป็นเรื่องไม่ดี
ไม่ควรจะเอามาสอนประชาชนชาวบ้าน เพราะถ้าชาวบ้านมีความสันโดษ
บ้างเมืองก็จะไม่เจริญก้าวหน้า เขาว่ากันอย่างนั้น
ทีว่ากันอย่างนั้นเพราะไม่เข้าใจความหมายของธรรมะข้อนี้
คือไม่รู้ว่าสันโดษคืออะไร ถ้ารู้ ความหมายของสันโดษว่าคืออะไรแล้ว
ก็จะไม่มีความตกอกตกใจในเมื่อพระท่านนำสันโดษมาสอนแก่ญาติ โยม
เพราะว่าเรื่องสันโดษนั้น ถ้าพูดกันให้เข้าใจแล้วไม่ใช่เรื่องเสีย
แต่ว่าเป็นเรื่องดีมีประโยชน์ จะทำ ให้คนเรารู้จักจัดรู้จักทำในเรื่องอะไรๆ
ต่างๆ ที่เกิดขึ้น และจะทำให้คนเรามีความสุขทางจิตใจ เพราะรู้ จักใช้สันโดษ
ถ้าไม่รู้จักใช้สันโดษแล้วจิตใจจะไม่สบาย จะมีความทุกข์อยู่ตลอดเวลา
ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ใจวิถีชีวิตก็เกิดความทุกข์ทั้งนั้น
เพราะไม่ใช้สันโดษเป็นแนวทาง เป็นหลักปฏิบัติ ก็จะเกิดความทุกข์ความ
เดือดร้อนใจ แต่ถ้าผู้ใดรู้จักสันโดษ แล้วก็ใช้สันโดษนี้ให้ถูกต้อง
ผู้นั้นจะมีอารมณ์สดชื่นแจ่มใส ไม่มีความ
ทุกข์ความเดือดร้อนเข้ามาพัวพันในชีวิตมากเกินไป
คำว่า สันโดษนี้หมายความว่าอย่างไร สันโดษที่เราเอามาใช้ในภาษาไทย
มาจากคำบาลีว่า สันตุฏฐิ สันตุฏฐิ เรามาแผลงเป็นไทยว่าสันโดษ แปลว่า
ความยินดีตามมีตามได้ เป็นลักษณะของสันโดษคือ หมายความว่า
เรายินดีในสิ่งที่เรามีเราได้ในขณะนั้น ในวันนั้นในชั่วโมงนั้น
หรือในเวลานั้นมีความยินดีมี ความพอใจ เรียกว่ามีสันโดษ
พอใจนี้มันก็มีหลายแบบ เช่นว่าเราพอใจตามได้ เราทำงานทำการไม่ว่าทำ งานอะไร
แล้วก็เกิดผลขึ้นจากงานที่เราทำ
ผลที่เกิดขึ้นนั้นมันเป็นผลที่เราบังคับเอาตามใจไม่ได้เสมอไป
เมื่อมีอะไรเกิดขึ้นจากผลงานที่เราได้ปฏิบัติในชีวิตประจำวัน เราก็พอใจ
พอใจในผลงานอันนั้น ความพอ ใจอย่างนี้เรียกว่ามีความสันโดษ
อันคนที่พอใจในผลงานของตัวที่ได้นั้น ก็ย่อมสบายใจ เช่นเราลงทุนทำการค้าขาย
แล้วมันก็ได้กำไรมาสักเท่าใดก็ตาม สมมติว่าลงทุนไปร้อยบาท
แล้วได้กำไรสองบาทก็ดีแล้ว อย่างนี้ใจมันก็สบาย แต่ถ้าเราได้กำไรสอบบาท
เราไม่พอใจ เราบ่น บ่นเรื่อยไป หรือว่ามีความทุกข์ วิตกกังวลมันน้อยไป
ไม่สมกับที่เราลงทุนลงไป มันควรจะได้สักยี่สิบควรจะได้สักสามสิบ
ในขณะที่เรา คิดอย่างนั้นจิตใจกังวลแล้ว มีความความทุกข์ความเดือดร้อนใจ
ไม่มีความสุขใจ แต่ถ้าเรานึกว่าเท่านี้ก็ดี แล้ว ดีกว่าไม่ได้อะไรเสียเลย
พอคิดอย่างนี้ใจมันสบาย เพราะว่าเราพอใจในสิ่งที่เราได้ อันนี้เรียกว่า
เป็นความสันโดษตามมีตามได้ เราได้มาอย่างใดเราก็พอใจอย่างนั้น
ก็มีความสบายใจ
เวลาเรารับประทานอาหาร สมมติว่าแม่ครัวเขาปรุงอาหารมาให้สักสองอย่าง
มีแกงจืดก็แกงเผ็ด หน่อย เราคนไทยชอบรสเผ็ดอยู่หน่อย เขาก็ทำให้สองอย่าง
แกงจืด กับแกงเผ็ด เราไปนั่งลงบนโต๊ะ อาหาร แล้วก็มองดูอาหารนั้นไม่พอใจ
ว่าทำไมวันนี้กับข้าวมันน้อยไป มีแต่แกงจืดแกงเผ็ดมันควรจะมีไข่
เจียวอีกสักอย่างหนึ่ง หรือว่าควรจะมีสลัดอีกสักจานหนึ่ง
หรือว่าควรจะมีผักสดๆ หรือไอ้โน่นไอ้นี่ แต่ว่า มันไม่มีในขณะนั้น
มันมีสองอย่างนั้น เมื่อมีสองอย่างเท่านั้นเราไม่พอใจ
ถ้าเราไม่พอใจเราก็กินด้วย ความทุกข์ กินด้วยความวิตกกังวล
มีอารมณ์โทสะเกิดขึ้นในใจ แล้วจะดุแม่ครัวดุคนนั้นคนนี้ เพราะความ
ไม่พอใจในอาหารสองจานที่เราได้รับ เราก็เกิดอารมณ์หงุดหงิดด้วยประการต่างๆ
อันนี้เรียกว่าไม่สันโดษ เมื่อไม่สันโดษก็มีความทุกข์ทางใจเกิดขึ้น
เพราะเราไม่พอใจในอาหารนั้น
แต่ว่าเราเป็นคนปฏิบัติธรรมะ ในเรื่องเกี่ยวกับสันโดษ
พอเราเห็นอาหารสองอย่าง เราก็พอใจ เราพอใจว่ามีสองรสมีทั้งรสจืด
มีทั้งรสเผ็ด เพียงเท่านี้ก็ดีแล้ว เราจะกินอะไรกันนักหนา
กินพออิ่มเท่านั้นเอง ความอร่อยของอาหารนั้นไม่ใช่ของแท้จริงอะไร
มันเป็นเรื่องมายาหรอก อร่อยก็เพียงที่ลิ้นนิดหน่อย
กลืนลงไปแล้วมันก็หมดเรื่อง เขาทำให้เรารับประทานสองอย่างก็ดีแล้ว
ดีกว่ามีอย่างเดียว ถ้ามีอย่างเดียวเราก็นึกว่าดีกว่าไม่มีอะไรเสียเลย
เราก็พอใจ เมื่อเราพอใจเราก็กินสบาย
มีอารมณ์สดชื่นรื่นเริงในการรับประทานอาหารนั้น ไม่ดุใครว่าใคร
ไม่ทำใจให้เกิดความทุกข์ความเดือดร้อน ความพอใจมันเป็นความสุขแล้ว
ความสุขที่เกิดจากอาหารนั้น เพราะว่าเราพอใจ
หรือเครื่องนุ่งห่มแต่งเนื้อแต่งตัว เราไปไหนเราก็แต่งไปตามเรื่อง
แล้วไปเห็นคนอื่นเขาแต่งดีกว่า เรา ผ้าดีกว่าทันสมัยกว่า หรืออะไรๆ
ดูแล้วมันดีกว่าเรา ถ้าเราเกิดอารมณ์ขึ้นมาในใจว่า แหม เรามัน
ไม่เป็นคนทันสมัยเสียเลย คนอื่นเขาแต่ดีกว่าเรา แล้วมองดูตัวเองก็ไม่พอใจ
ไม่พอใจในเสื้อผ้าที่ตัว แต่งอยู่ ขณะนั้นก็เกิดความทุกข์ทางใจ
เกิดความวิตกกังวลมีปัญหาเกิดขึ้นในใจทันที อันนี้เรียกว่าไม่สันโดษ
ในสภาพที่ตนมีตนได้ แต่ถ้าหากว่าเราเห็นใครเขาแต่งอย่างไรก็ช่างเขา
เราแต่งของเราอย่างนี้ เราสบายอย่างนี้ ของเรามันก็กันร้อนได้กันหนาวได้
กันเหลือบกันยุงได้ ปกปิดความละอายได้มันก็พอแล้ว เราก็สบายได้
เมื่อมีความสบายใจก็ไม่มีปัญหา อย่างนี้เรียกว่าสันโดษ
สันโดษด้วยเสื้อผ้าที่เรามีเราได้อยู่ ในวันนั้นในขณะนั้น นี่เรื่องหนึ่ง
ที่อยู่อาศัย เหย้าเรื่อยของเราก็เหมือนกัน เรามีบ้านอย่างใดก็ตาม
แล้วมีคนอื่นมาปลูกบ้านใกล้ บ้านใกล้กับเราก็ตาม ของเขาใหญ่กว่า สวยกว่า
สนามหญ้ากว้างกว่า รั้วงามกว่า เรามองแล้วมองดูบ้าน ของตัว
ดูหมิ่นบ้านของตัว แหมบ้านเราเหมือนกับรังหนู ไม่สวยไม่งามสีก็จืดไม่น่าดู
สนามหญ้าก็ไม่สวยไม่ กว้างเหมือนกับบ้านโน้น กำแพงก็ไม่ทันสมัย
เครื่องใช้ในบ้านก็ไม่ทันสมัย เหมือนกับอยู่ในนรก เพราะว่า
สร้างความทุกข์ขึ้นในใจ ไม่พอใจในบ้านที่ตัวอยู่
ทะเยอทะยานไปมองบ้านคนอื่นเขา แล้วก็นึกว่าเรา ควรจะมีอยู่อย่างนั้น
ควรจะมีอย่างนี้ตลอดเวลา อย่างนี้ใจมันก็เป็นทุกข์ ไม่มีความสบายใจ
แต่ถ้าเราพอ ใจว่า บ้านเรามันอย่างนี้ก็ต้องพอใจไปก่อน
พอใจไปก่อนเมื่อมันยังไม่มีบ้านที่ดีกว่านี้ ก็ต้องพอในอันนี้ไป ก่อน
อันนี้พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้ว่า ยํ ลทฺธํ เตน ตุฏฺฐพฺพํ แปลว่า
ได้สิ่งใดพอใจด้วยสิ่งนั้น เมื่อเราได้สิ่ง ใดมาเราก็พอใจ
เรามีบ้านหลังคากันฝนได้ ฝากันแดดได้ พื้นเรียบร้อยมีความสะอาด
เราหลับนอนได้อยางสบาย เหมือนกันกับบ้านหลังโน้นเราสบายดีเป็นปกติ
เราก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้นในใจ จิตใจเป็นสุขในขณะที่เรารู้สึกว่าเราพอใจ
อันนี้ เรียกว่ามีความสันโดษ ความสันโดษ มันเป็นศิลปะแห่งการดำรงชีวิต
เป็นศิลปะแห่งความสุขใจสบายใจ ในสิ่งที่เรามีเราได้ เช่นว่าวันนี้ฝนตก
เราก็นึกให้มันสบายใจ เออฝนตกก็ดี อากาศเย็นๆ ดีกว่าร้อน
วันไหนอากาศร้อนเราหงุดหงิดใจ เหงื่อไหลไคลย้อยฝนตกอย่างนี้มันสบายใจดี
ไม่มีอะไรเราก็มีจิตใจสบาย ไม่อึดอัด ไม่ขัดใจเพราะท้องฟ้ามืด
หรือฝนตกหรือลมพัดกระโชกมา ใจเรามันเฉยๆ ก็มีความสุขทางใจ จิตใจสบาย
ไม่มีปัญหาทางใจมากเกินไป เพราะว่าเราจะไปบังคับว่าฝนเอ๋ย หยุดเสียทีเถอะ
ข้ารำคาญเต็มทีแล้ว บังคับมันได้เมื่อไหร่
มันจะตกก็ต้องตกจะเกิดมันก็ต้องเกิด เพราะฉะนั้นเราหมุนใจเราดีกว่า
อย่าไปหมุนธรรมชาติเลย
ธรรมชาติมันแก้ไม่ได้ เราแก้ใจดีกว่า แก้ใจเราก็คือว่า ยิ้มรับสถานการณ์
ฝนตกเราก็ยิ้มรับมันเสีย เออสบายดีเหมือนกันฝนตก
วันนี้วันอาทิตย์ไม่มีงานมีการ เราไม่ได้ไปออฟฟิต ฝนตกจะได้อยู่บ้าน
จะได้พักผ่อน ไม่ต้องไปไหน ไม่เปลืองน้ำมันรถ
แต่ว่าต้องไปฟังเทศน์เสียหน่อย เพราะว่าต้องไปอยู่เป็นประจำ มันก็สบายใจ
ไม่มีเรื่องอะไร ที่อื่นเราไม่ไปเพราะว่าฝนตก แต่ว่าไปฟังเทศน์
ต้องไปหน่อยเพราะเป็นอาหารใจ เราก็มาด้วยความสดชื่น ใจสบาย
นี้เรียกว่ามีสันโดษ คือพอใจในสิ่งที่เรามีเราได้
มันเป็นความสุขทางใจอย่างหนึ่ง ถ้าเรารู้จักทำ แต่ถ้าเรา
ไม่รู้จักทำใจให้เกิดสันโดษ ก็หงุดหงิดเรื่อยไป
มีความทุกข์มีความเดือดร้อนใจ มันก็เสียหาย
อันบุคคลที่มีความสันโดษนั้น ไม่ใช่คนขี้เกียจงาน คนสันโดษไม่ใช่คนขี้เกียจ
ถ้าประพฤติตามหลักสันโดษแล้ว จะไม่ขี้เกียจ ทำไมจึงไม่ขี้เกียจ
คนขี้เกียจนั้นไม่ใช่คนสันโดษ แต่ว่าเป็นคนไม่มีสันโดษ คือไม่พอใจ
คนขี้เกียจคือคนที่ไม่พอใจ เขาให้กวาดขยะไม่อยากจะกวาด
เขาให้รดน้ำต้นไม้ไม่อยากจะรด เขาให้พรวนดินไม่อยากจะพรวนดิน
เขาให้ทำอะไรก็ไม่พอใจทั้งนั้น เมื่อไม่พอใจก็ทำนิดหน่อย
ทำนิดหน่อยแล้วก็ทิ้งเครื่องมือไปแล้ว ไม่ทำต่อไป นี่คือความไม่พอใจ
เขาเล่าเรื่องไว้เรื่องทางปักษ์ใต้ ฤดูนี้มันเป็นเดือนสิบ
เรียกว่าใกล้ทำบุญสารท ชาวบ้านในชนบท พอใกล้ทำบุญสารทเขาต้องไปหามะพร้าว
สำหรับเอามาเคี่ยวเป็นน้ำมัน เพราะว่าสมัยก่อนน้ำมันไม่ค่อยมี
ต้องเคี่ยวเอา เคี่ยวน้ำมันมะพร้าวแล้วทำขนม ขนมประเภททอดมันเขาเรียกว่า
ขนมเจาะหู ขนมลูกสะบ้า ขนมอะไรหลายอย่าง เอาไปทำบุญในวันสารท
ฤดูนี้มันก็เป็นฤดูทำนำ มีคนหนุ่มคนหนึ่ง บ้านเขาไม่ได้อยู่ทุ่ง
แต่เขาอยู่ในป่า ไปอยู่ในป่าเวลาไปขอหมั้นลูกสาว คนในทุ่งเขาบอกว่า
มึงจะไปอยู่ได้หรือในทุ่ง ต้นกกมันรก ในนาเต็มไปด้วยต้นกก
เหมือนกับสนามหญ้าที่รกฉะนั้นแหละ ต้นกกต้นเท่านิ้วชี้
ต้นไม้เท่านี้กูยังตัดได้ กลัวอะไรกับต้นกก
ว่าอย่างนั้นมันยังไม่ได้แต่งงาน มันนึกว่าต้นกกต้นเล็กๆ
ตัดเดี๋ยวเดียวก็ได้ ก็เลยได้แต่งงาน เมื่อแต่งงานแล้วเขาก็ไปทำนา
ต้องเอามีดไปฟันต้นกก
ฟันต้นกกมันไม่เหมือนกับฟันต้นไม้เนื้อแข็ง ไม้เนื้อแข็งฟังลงไปก็เข้าทันที
แต่ต้นกกบางทีฟันแล้วมันไม่ขาด มันลู่มันอ่อนไปเสีย เขาก็ฟันไป
แต่ขณะที่ฟันหญ้าเขายืนในน้ำ ยืนในน้ำ ปลิงกัดแข้งกัดขา
มันอยู่ในป่าไม่เคยมีปลิง ต้องเอามือไปปลดปลิงจากแข้ง
เลยก็นึกในใจว่าไม่ไหว แล้วอย่างนี้ทำไม่ได้แล้ว
ก็เลยกลับไปบ้านตอนเย็นก็ถามพ่อแม่ว่า พ่อเมียแม่เมียถามว่า ใกล้จะเดือนสิบ
แล้ว ทีนี้เวลาจะทำขนมเอามะพร้าวที่ไหน ต้องไปหามาทางริมภูเขา
บ้านป่าบ้านสวน มันบอกว่าพรุ่งนี้ฉัน จะไปบ้านแล้ว
ไปหามะพร้าวเพื่อเอามาให้แม่ยายทำขนม
มันเบื่อที่จะไปตัดหญ้าในทุ่งนาไปหายไปเลย นี่ เพราะเรื่องอะไร
เรื่องไม่พอใจนั่นเอง ไม่อดทน พอไม่พอใจเกิดขึ้น ไม่อดทน ไม่มีความเพียร
ไม่มี ความตั้งใจที่จะทำสิ่งนั้นแล้ว ผลที่สุดก็ทิ้งงาน ไม่สามารถจะทำได้
อย่างนี้เราเห็นกันอยู่ทั่วๆ ไป
เด็กๆ ที่เราให้เรียนหนังสือถ้ามันไม่พอใจเรียน
คือไม่มีความสันโดษในการเรียนแล้ว มันเบื่อไป หมดเรียนเลขก็เบื่อ
เรียนภาษาก็เบื่อ เรียนอะไรมันก็เบื่อทั้งนั้น
แล้วมันก็หนีโรงเรียนเที่ยวหลบไปอย่างนั้น อย่างนี้ ผลที่สุดก็เรียนไม่ได้
นี่ก็เพราะว่าไม่มีความสันโดษในเรื่องที่ตัวกระทำ ความขี้เกียจเกิดขึ้น
ความไม่อดทนก็เกิดขึ้น ความตั้งใจที่จะทำมันก็ไม่มี งานไม่สำเร็จ
แต่ว่าคนที่มีความสันโดษมีความพอใจใน การปฏิบัติหน้าที่นั้น
เขาจะไม่ทิ้งงาน เราให้เขาขุดดิน พอเขาไปเห็นดินเขาก็พอใจ
จับจอบขุดพลิกขึ้นมา ก้อนหนึ่งเขาก็พอใจ พลิกขึ้นมาอีกก้อนก็พอใจ
ทุกครั้งที่เขาเอาจอบฟันลงไปในดินเขาพอใจ พลิกขึ้นมาเขา ก็พอใจ
คนประเภทนี้ไม่ทิ้งไม่ทิ้งงานเป็นอันขาด เพราะเขาพอใจ
นี่แหละเขาเรียกว่าสันโดษ คือพอใจ ในงานที่ตนจะทำ แล้วไม่ทิ้งงาน
เพราะฉะนั้นเราจะเห็นว่าคนบางคนเข้าไปทำงานอยู่กับใคร เช่นทำงานบริษัท
ห้างร้าน หรือทำงานอะไรก็ตาม ทำไปจนแก่จนเฒ่า จนเขาปลดออกจากงาน
ไม่ทิ้งไปเลย นี่แสดงว่า คนนั้นมีความสันโดษ
พอใจในงานที่เขามอบหมายให้กระทำ แล้วทำไปเจริญทุกราย ก้าวหน้าได้
เลื่อนฐานะเลื่อนตำแหน่งเงินเดือน เพราะว่าเขาพอใจ
ใจทางตรงกันข้ามคนที่ไม่พอใจ ไปทำงานที่ บริษัทนี้เกิดไม่พอใจ
ไม่พอใจเจ้าของ ไม่พอใจหัวหน้าคนงาน ไม่พอใจในสิ่งแวดล้อมภายในโรงงาน
อึดอัด ขัดใจลาออก แล้วไปหางานใหม่ เดี๋ยวเกิดไม่พอใจอีก ลาออกอีก
ลาออกจนกระทั่งว่า ไม่เป็นล่ำเป็นสัน ทำ บริษัทนั้น ทำบริษัทโน้นหน่อยหนึ่ง
แล้วมันจะดีขึ้นได้อย่างไร ถ้ามีใบเซอตีฟิเกตไปแสดงเจ้าของานเห็นเข้า
ไม่ไหว บริษัทนั้นสามเดือนบริษัทนั้นสองเดือน บริษัทนั้นเดือนครึ่ง
ใครเขาจะรับ เพราะแสดงว่าเป็นคนใจ อ่อนโลเล ไม่หนักแน่น ทำอะไรนิดๆ หน่อยๆ
เดี๋ยวก็ละงานไปแล้ว ก็หางานทำลำบาก ไม่สามารถจะอยู่ กับใครได้
นี่มันผิดตรงไหน ตรงที่ไม่มีคุณธรรมคือความสันโดษนั่นเอง
แต่ถ้าเรามีความสันโดษมีความพอใจ เราทำงานอะไรก็ทำด้วยความพอใจในงานนั้น
ไม่ทิ้งงาน ไม่ย้ายงาน ทำไปจนได้ดิบได้ดี จนก้าวหน้า เป็นที่รักของนายจ้าง
นี่คือคนที่มีความสันโดษ ความสันโดษจึงไม่ใช่ความเกียจคร้าน
ไม่ใช่ความเบื่อหน่ายต่อชีวิต แต่เป็นความชื่นใจ ดีใจกับสิ่งที่เรามีเราได้
มันเป็นความสุขอย่างหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นในใจแล้วทำให้เกิดกำลังเข้มแข็ง
เกิดความอดทนเกิดความหนักแน่น เกิดความรักงานรักการ ทำงานด้วยอารมณ์สดชื่น
แล้วมันดีหรือไม่ ญาติโยมลองคิดดู สันโดษมันดีไม่ใช่เสียหาย
เพราะฉะนั้นพระจึงสอนว่า ให้มีความสันโดษในหน้าที่การงาน ในทุกสิ่งทุกอย่าง
ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นในชีวิตวิถีของเรา เราจะต้องพอใจในสิ่งนั้น
ทำความพอใจให้เกิดขึ้น พอมีความพอใจแล้วใจมันสบาย ไม่ลำบากไม่เดือดร้อน
ให้สังเกตดูสภาพจิตใจ ของเรา เวลาใจที่เราหงุดหงิดงุ่นง่านขึ้นมา
แสดงว่าเราไม่พอใจแล้วไม่พอใจในที่ที่เรานั่งในที่ที่เรายืน
ไม่พอใจในสภาพสิ่งแวดล้อม ไม่พอใจในบุคคลไม่พอใจเหตุการณ์ต่างๆ
เราอารมณ์หงุดหงิดขึ้นมาทันที ถ้า
รู้สึกว่าจิตใจมีสภาพหงุดหงิดขึ้นมาเช่นนั้น
ขอให้ตั้งปัญหาถามตัวเอง ถามว่า มันหงุดหงิดในเรื่องอะไร
มีอะไรทำให้เกิดความหงุดหงิดขึ้น เราก็จะตอบได้ทันทีว่า
เพราะเราไม่พอใจในสิ่งนั้นในสิ่งนี้ เราตอบได้กับตัวเองว่าไม่พอใจ และเมื่อ
เรารู้ว่าเพราะความไม่พอใจ จึงได้เกิดอารมณ์อย่างนี้ขึ้นมา
เราจะแก้ไขอย่างไร ก็แก้ไขด้วยการเปลี่ยน เสีย
เปลี่ยนจิตใจที่ไม่พอใจนั้นให้เป็นความพอใจ ทำอย่างไรจึงจะพอใจ
ก็มองในแง่ดีแง่งามของสิ่งนั้นๆ มองในสิ่งนั้นว่ามันดีตรงไหน
มันเป็นประโยชน์ตรงไหน มันมีอะไรที่ควรจะชมบ้างในเรื่องนั้นๆ หัดมองอะ
ไรในแง่ดีแง่งาม แล้วเราก็จะเกิดความพอใจ ยิ้มออกมาทันทีว่า
เอ้ามันก็น่ารัก น่าเอ็นดู ไม่มีอะไรที่น่าจะ รำคาญ
เรารำคาญเรียกว่ามันเผลอไปเอง ประมาทไปเอง
จึงได้เกิดอารมณ์อย่างนี้ขึ้นมาในใจ
อันนี้ช่วยให้จิตใจสบาย ไม่มีความทุกข์ความเดือนร้อนในทางจิตใจ
นี่ลักษณะของสันโดษอย่างนี้ เรียกว่า สันโดษตามสิ่งที่เรามีเราได้
สันโดษตามกำลังมันก็มีเหมือนกัน เรามีกำลังเท่าไหร่
สมมติว่ามีทุนอยู่แสนหนึ่ง แล้วเราจะการค้าขาย เราก็ต้องพอใจในทุนที่เรามี
แล้วต้องคิดกะงบประมาณในการดำเนินงานว่า
ในวงเงินเท่านี้เราจะทำเท่านี้ไปก่อน เมื่อใดมีเงินมีทุนที่จะขยายงานได้
เราค่อยขยายต่อไป ทำด้วยอารมณ์สดชื่นรื่นเริงกับทุนเท่าที่เรามีอยู่นี้
ใครเขาจะมาพูดว่า ทำอะไรเล็กๆ น้อยๆ มันจะพอกินหรือมันจะก้าวหน้าหรือ
เราอย่าไปสนใจกับคำพูดเช่นนั้น เพราะเขาไม่รู้ฐานะของเรา
ว่าเรามีอะไรเท่าไหร่ขนาดไหน แต่เราเองเรารู้ว่าเรามีอะไรเท่าไหร่
เพราะฉะนั้นเราต้องยิ้มรับสถานการณ์ ฉันพอใจในสิ่งนี้ไปก่อน
เพราะฉันมีทุนอยู่เพียงเท่านี้ และในทุนที่เรามีนี้เราทำด้วยความไม่ประมาท
ใช้ความรอบคอบระมัดระวังในการที่จะทำเพื่อรักษาต้นทุนไว้
และเพื่อให้เกิดกำไรขึ้น ตามสมควรแก่หน้าที่ที่เราปฏิบัติ
ถ้ามีอะไรที่เป็นกำไรเกิดขึ้นเราก็พอใจ ว่าได้เท่านี้มันก็ดีแล้ว
พอใจเท่านี้ไปก่อนเราก็สบายใจ ไม่มีปัญหาอะไรเกิดขึ้น
อันนี้เป็นตัวอย่างที่ว่า พอใจในสิ่งที่เรากำลังทำอยู่ ก็ทำให้เกิดความสุข
ทีนี้เหตุการณ์บางอย่างที่เกิดขึ้นในชีวิตของเรา
เช่นว่าขโมยมาขึ้นบ้านเอาข้าวของของเราไป เรา ควรจะคิดอย่างไร
อย่าคิดให้มันเป็นทุกข์เมื่อของหาย แต่ควรคิดให้สบายใจ
คิดให้สบายใจก็คิดมองใน แง่ดีไว้ก่อน ในแง่ดีของเรื่องนั้น
เช่นขโมยขึ้นบ้านเรา เราก็อยู่ในบ้านนั่งอยู่ชั้นล่างขโมยขึ้นข้างบน
ปีนขึ้น ไปทางต้นไม้ที่อยู่ข้างบ้านของเรา
ทุบกระจกแตกเราอาจจะได้ยินเสียงกระจกแตก แต่นึกว่าเด็กมันทำ จานแตก
หรืออะไรแตกไป ไม่เฉลียวใจ ไม่ได้คิดว่าขโมยมันขึ้นมาบนบ้าน
แล้วมันก็มาเอาข้าวของของ เราไป ถ้าเราจะมานั่งเสียใจนั่งเป็นทุกข์
ว่าแหมเอาเครื่องเพชรไปเสียเอาสิ่งนั้นไปเสีย น่าเสียดาย
คิดขึ้นทีไรก็เป็นทุกข์ทุกที พอคิดถึงแหวนเพชรวงนั้นก็เสียใจ
คิดถึงสายสร้อยก็เสียใจ ไปเห็นกระจกแตกก็ เสียใจ
เหตุการณ์ทั้งหลายมันทำให้เราเสียใจอยู่ตลอดเวลา เป็นทุกข์เปล่าๆ
เราควรจะคิดอย่างไร คิด ให้มันชื่นใจดีกว่า คิดให้ชื่นใจต้องคิดว่าอย่างนี้
สมมติว่าเราไปเห็นขโมยคนนั้นเข้า ในขณะที่มันทำการ เปิดตู้อยู่
จะเอาข้าวเอาของของเรา แล้วมันเห็นเราเจ้าของบ้านขึ้นไป
มันจะทำอะไรกับเราบ้างไหม ไว้ใจไม่ได้ ขโมยเดี๋ยวนี้มันฆ่าคนง่ายๆ
ถ้าเราไปเห็นขณะที่มันกำลังลักอยู่ มันมีมีดมันมีปืนมันต้องแทงเรา
มันต้องยิงเรา เราอาจจะถึงตายก็ได้
นี่ดีที่เราไม่ขึ้นไปเห็นมันในขณะที่มันเอาของแล้วมันก็ไม่มีโอกาสทำ
ร้ายเรา มันเอาแต่ของแล้วมันก็ไป เรายังมีชีวิตอยู่ยังสบายบุญนักหนา
เราต้องนึกว่าบุญจริงๆ ไม่ใช่ โชคร้ายแล้ว
ควรจะมองว่ามันเป็นโชคดีเหลือเกินในชีวิตของเรา
ที่เราไม่ได้ขึ้นไปเห็นเจ้าขโมยพวกนั้น ถ้าเราขึ้นไปเห็น
สมมติว่าพ่อบ้านขึ้นไปเห็น มันต้องเล่นงานเรา มันมีปืนมันต้องยิงก่อนแล้ว
แล้วเราอยู่ใน ท่าที่เสียเปรียบ
เช่นเราขึ้นบันไดไปพอโผล่หัวเปรี้ยงเข้าให้แล้วเข้าลูกตาเลย
เราก็พลิกท้องกลิ้งหลุนๆ ไปตามบันไดเท่านั้นเอง เราตาย
หรือว่าคุณนายคุณหญิงขึ้นไปเห็นมันเข้า มันก็ทำร้ายร่างกาย เกิดความ
เจ็บปวดไปเปล่าๆ เมื่อมานึกอย่างนี้ เราก็ควรจะพอใจ
| หน้าถัดไป >>
มองทุกให้เห็นจึงเป็นสุข
ทุกข์ซ้อนทุกข์
ไม่มีอะไรได้ดังใจเหมือนม้ากาบกล้วย
วันนี้เจ้าอยู่กับฉันพรุ่งนี้มันไม่แน่
มันเป็นเช่นนั้นเอง
ศีลธรรมและสัจจธรรม
แหล่งเกิดความทุกข์
องค์สามของความดี
หลักใจ
ทำดีเสียก่อนตาย
ตามรอยพุทธบาท
ฐานของชีวิต
ความพอใจเป็นทรัพย์อย่างยิ่ง
ชั่งหัวมัน
อนัตตาพาสุขใจ
ฤกษ์ยามที่ดี
อดีต ปัจจุบัน อนาคต
วิธีการสอนของพระพุทธเจ้า
สำนึกสร้างปัญญา
สอนลูกให้ถูกวิธี
ปฏิวัติภายนอกกับภายใน
ร้อนกายไม่ร้อนใจ
อย่าโง่กันนักเลย
การทำศพแบบประหยัด
คนดีที่โลกนับถือ
ความจริงอันประเสริฐ
เสรีต้องมีธรรม
ทาน-บริจาค
เกียรติคุณของพระธรรม
เกียรติคุณของพระธรรม (2)
พักกาย พักใจ
เกิดดับ
การพึ่งธรรม
อยู่ด้วยความพอใจไม่มีทุกข์
มรดกธรรม
ฝึกสติปัญญาปัญหาไม่มี
ทำให้ถูกธรรม
วางไม่เป็นเย็นไม่ได้