ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>
เรื่อง การพึ่งธรรม
วันอาทิตย์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2520
ญาติโยมพุทธบริษัททั้งหลาย
ณ บัดนี้ถึงเวลาของการฟังธรรมปาฐกถา อันเป็นหลักคำสอนในทางพระพุทธศาสนาแล้ว ขอให้ทุกท่านอยู่ในอาการสงบ ตั้งอกตั้งใจฟังด้วยดี เพื่อให้ได้ประโยชน์อันเกิดขึ้นจากการฟัง ตามสมควรแก่เวลา
หมู่นี้ ใครๆ ก็บ่นกันว่า อากาศมันร้อน แต่ว่าวันนี้ฝนตกลงมาในตอนเช้า รู้สึกว่าค่อยชุ่มชื่นขึ้นมาบ้างตามสมควรแก่ดินฟ้าอากาศ เรื่องของธรรมชาติเราจะไปบังคับไม่ได้ มันเป็นไปตามเรื่องของธรรมชาติ ประเดี๋ยวเป็นอย่างนั้นประเดี๋ยวเป็นอย่างนี้ เป็นเรื่องที่มันเป็นไปตามเรื่องของเขา เราไม่ควรจะไปคิดให้มันวุ่นวายใจ เอามาเป็นเรื่องจนเป็นเหตุให้เกิดความทุกข์ความเดือดร้อน แต่เราควรจะหมุนจิตใจของเราให้เหมาะแก่สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น เช่นมีอากาศร้อน เราก็ควรจะพอใจฝนตกก็ควรจะพอใจ ถ้าเราไม่พอใจเราก็เป็นทุกข์ แต่ถ้าเราพอใจเราก็สบายใจ การอยู่ในชีวิตประจำวัน ควรจะอยู่ด้วยความสบายใจมากกว่าอยู่ด้วยความไม่สบายใจ เพราะความไม่สบายใจนั้นมันสร้างปัญหา แต่ความเบาใจ โปร่งใจไม่สร้าง 2 ปัญหาอะไรให้เกิดขึ้น ผู้มีปัญญาจึงควรจะรักษาตน ให้มีสภาพจิตใจสงบทุกโอกาส
ทีนี้การที่เราจะทำใจให้สงบได้ทุกโอกาสนี่แหละเป็นปัญหา เป็นเรื่องที่เราควรจะศึกษาทำความเข้าใจการมาศึกาาธรรมทุกวันอาทิตย์ ก็เพื่อประโยชน์แก่เรื่องนี้ คือเพื่อให้รู้ว่าเราควรจะอยู่อย่างไร ควรจะคิดอย่างไร ควรจะทำอย่างไร ชีวิตจะสดชื่นรื่นเริงในเรื่องชีวิตนั้น ก็ควรจะเป็นความสดชื่นตามแบบผู้ประพฤติธรรม ไม่ควรจะรื่นเริงตามแบบผู้คะนองในความสุขทางเนื้อหนัง หรือว่าในทางวัตถุมากเกินไป เพราะว่าความสุขอันเกิดจากวัตถุนั้น มันก็เปลี่ยนแปลงไปตาาสิ่งนั้น เช่นเวลาได้ก็ดีใจ เวลาเสียก็มีความเสียใจ ก็สิ่งทั้งหลายนั้นมันไม่มั่นคงที่ถาวร ไม่ได้อยู่อยู่ในสภาพเดิมมันตลอดเวลา แต่มันอาจจะเปลี่ยนแปลงเป็นอะไรไปเมื่อใดก็ได้ เพราะฉะนั้นที่เราสวดมนต์ตอนท้ายว่า สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา สังขารคือร่างกายจิตใจ รูปธรรมนามธรรมทั้งหมดทั้งสิ้นมันไม่เที่ยง คือมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เมื่อสิ่งนั้นมันเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพ ถ้ามันมีอยู่กับเราเราก็สบายใจ แต่เมื่อเปลี่ยนแปลงไปเราก็เป็นทุกข์ ถ้าหากว่าไปความสุขจากสิ่งที่เปลี่ยนแปลง เราก็ต้องมีความทุกข์สุขสลับสับเปลี่ยนกันอยู่ตลอดเวลา ไม่จบไม่สิ้น เวลาใดได้ก็สบายใจ เวลาเสียไปก็มีความทุกข์ มีความเสียใจ
เรื่องได้กับเสียนี้มันเป็นสิ่งคู่กัน เดินทางกันมาด้วยกัน คล้ายกับการสลับฉากของสิ่งต่างๆ เวลาหนึ่งมันเป็นเรื่องของการได้ แต่เวลาหนึ่งมันก็เป็นเรื่องของการเสียไป ถ้าจิตใจเราไม่มีหลักประจำแล้วเราก็ขึ้นๆ ลงๆ กับเรื่องได้เรื่องเสีย ไม่รู้จักจบไม่รู้จักสิ้น การที่มีจิตขึ้นๆ ลงๆ อยู่อย่างนั้น มันจะเป็นความสุขได้อย่างไร เป็นความสงบได้อย่างไร มันเป็นเรื่องที่เราไม่ควรจะทำในเรื่องอย่างนั้น แต่เราควรจะได้มีการรู้เท่ารู้ทันต่อสิ่งนั้นตามสภาพที่เป็นจริง เพราะฉะนั้นจึงต้องมาทำการศึกษาในเรื่องนั้นๆ เพื่อจะได้ต้อนรับสิ่งเหล่านั้นให้ถูกต้องตามเรื่องที่มันควรจะเป็น การต้อนรับสิ่งเหล่านี้มันให้ถูกต้องนั้น คือเราจะต้องรับมันด้วยปัญญา ไม่ใช่รับด้วยความเขลา ถ้าเราไปรับเอาอะไรด้วยความเขลา ก็เหมือนกับว่าเรากินผลไม้ทั้งเปลือก กินทุเรียนทั้งเปลือกนี้ไม่ได้เรื่องแน่ เพราะว่าหนามทุเรียนจะทำปากเราให้เลือดไหลไปตามๆ กัน กินมังคุดทั้งเปลือกก็ไม่ได้ เมื่อสมัยเด็กๆ เคยกินมะม่วงสดๆ แล้วก็ไม่ต้องใช้มีด เลยก็เป็นแผลที่ริมฝีปากเพราะว่ายางมันเผาไหม้ นั่นคือการกินทั้งเปลือกมันได้ทุกข์อย่างนั้น
ในอารมณ์ทั้งหลายที่มันมากระทบเราก็เหมือนกันเราต้องปอกสิ่งเหล่านั้นออกไป ไม่งุบไว้ทั้งเปลือก แตเราควรจะปอกมันด้วยปัญญา ให้รู้ว่าอะไรเกิดขึ้น อะไรตั้งอยู่ อะไรเปลี่ยนแปลงไป ต้องรู้สภาพความจริงของเรื่องให้ถูกต้อง แล้วเราก็ไม่ต้องนั่งเป็นทุกข์เพราะสิ่งนั้นๆ ก็สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตของเรานั้น มันก็ปนกันไปตลอดเวลา คนเคยเป็นใหญ่อาจจะกลายเป็นผู้น้อยไปเมื่อใดก็ได้ มั่งมีอาจจะกลายเป็นคนจนไปเมื่อใดก็ได้เคยมีพวกพ้องบริวาร อาจจะกลายเป็นคนหมดพวกหมดบริวารไปก็ได้ อันนี้มันเป็นเรื่องที่อาจจะเกิดขึ้นได้เพราะความประมาทความเผลอเรอ ในการดำรงชีวิตในทางธรรมะท่านจึงสอนให้เราไม่ประมาท ให้รู้จักสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตอยู่ตลอดเวลา เพื่อป้องกันไม่ให้สิ่งร้ายเกิดขึ้น เพื่อให้สิ่งที่ดีคงอยู่อย่างนั้นตลอดไป เรื่องอย่างนี้มันเป็นเรื่องที่ทำได้ ไม่ใช่เป็นเรื่องเหลือวิสัย ถ้าเป็นเรื่องเหลือวิสัยพระผู้มีพระภาคเจ้าคงจะไม่สอนไว้ ให้เราทั้งหลายปฏิบัติ เพราะหลักธรรมะที่พระผู้มีพระภาคเจ้าบัญญัติไว้นั้น เป็นหลักที่เป็นไปได้ คือปฏิบัติได้ ไม่ใช่เป็นสิ่งเหลือวิสัย เราบางทีอาจจะนึกไปว่าทำไม่ได้ เช่น คนบางคนมักจะพูดว่า แหมทำไม่ได้ ที่ทำไม่ได้เพราะว่าไม่มีความตั้งใจที่จะทำ ไม่มีความรักที่จะทำ สิ่งอะไรที่เราไม่พอใจจะทำ มันก็ทำไม่ได้ แต่ถ้าเรามองเห็นว่าเป็นเรื่องควรจะทำได้ แล้วก็สร้างความพอใจให้เกิดขึ้น การกระทำสิ่งนั้นก็จะเกิดขึ้น และเมื่อเราทำไปๆ ก็จะรู้สึกว่ามันค่อยเบาขึ้นสบายขึ้น ไม่ว่าเรื่องอะไรทำในขั้นตอนแรกมันก็หนักหน่อย แต่ว่าทำไปๆก็ค่อยเบาขึ้น
อันนี้เราจะเห็นง่ายๆ ในการทำวัตถุประเภทใดก็ตาม เบื้องต้นรู้สึกว่าลำบาก เพราะยังไม่เข้าใจวิธีของการกระทำ ยังไม่คล่องมือไม้ก็ยังไม่คล่องตัว เราก็รู้สึกอึดอัดขัดใจเล็กน้อย แต่ถ้าเรามีความเพียรมั่น มีความอดทนมีความตั้งใจจริง สิ่งที่ยากนั้นจะกลายเป็นของธรรมดา แล้วก็เป็นเรื่องกล้วยๆ เราสามารถจะทำได้สำเร็จในเวลาไม่กี่นาที อันนี้เราเห็นอยู่ทั่วๆ ไปในชีวิตประจำวันของเราแล้ว ฉันใด ในเรื่องเกี่ยวกับการปฏิบัติขัดเกลาจิตใจตนเองก็เหมือนกัน มันไม่ใช่สิ่งที่เรียกว่า เหลือวิสัย ที่เราจะทำไม่ได้ เพราะถ้าทำไม่ได้พระพุทธเจ้าท่านก็ไม่บัญญัติไว้ ที่พระองค์บัญญัติหลักธรรมะไว้นั้นแสดงว่าพระองค์ได้กระทำด้วยพระองค์เองแล้ว เห็นผลจากการกระทำนั้นแล้วว่า ได้จริงๆ จึงได้นำมาสอนแก่ชาวโลก เพื่อให้ชาวโลกได้นำมาปฏิบัติต่อไป เพราะฉะนั้นเราอย่าเหน็ดเหนื่อยเบื่อหน่ายในเรื่องนั้น แต่ให้คิดว่ามันเป็นเรื่องดีมีประโยชน์เป็นเรื่องที่จะก่อให้เกิดความสุขอย่างแท้จริงในทางจิตใจ มีความสงบเกิดขึ้นแล้วเราก็พยายามที่จะกระทำ เท่าที่เวลาจะอำนวยให้เรื่องอื่นยากๆ เราก็ไปทำได้ ทีนี่เรื่องที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่จิตใจของเรา ทำไมเราจึงทำไม่ได้ ถ้าหากว่าตั้งใจจริงแล้วก็จะสำเร็จตามความปรารถนา เพราะฉะนั้นขอให้ญาติโยมทั้งหลายอย่าอิดหนาระอาใจ อย่าได้นึกว่าทำไปก็ไม่สำเร็จ อย่าไปเชื่อคำพูดของคนบางประเภทที่พูดให้มันเป็นเรื่องยากเสียเหลือเกิน เช่นเขาพูดว่าต้องบำเพ็ญบารมีสิ้นแสนอสงไขยหรือว่าสิ้นแสนกัลป์อนันตชาติอะไรอย่างนี้ มันมากไปหน่อย เกินไป พูดให้มันหนักไปให้ลำบากไป ซึ่งความจริงมันไม่ต้องมากมายอย่างนั้น เพราะสิ่งทั้งหลายเป็นเรื่องที่จะสำเร็จได้ในชีวิตนี้ ถ้าเรามีความตั้งใจที่จะทำมันก็มีความสำเร็จได้อย่าไปเชื่อตามแบบที่ว่าต้องบำเพ็ญนานถึงขนาดอย่างนั้น ถ้าจะเชื่อตามแบบนั้นก็เชื่อแต่เพียงว่า ต้องใช้ความเพียรหนักหน่อย ใช้ความพยายามให้มากหน่อยเพียงเท่านั้นพอ แต่อย่าให้ถึงแสนอสงไขยหรือแสนกัลป์อนันตชาติเลย ซึ่งมันนานเกินไป ให้เอาแต่เพียงว่าต้องใช้ความเพียรต้องใช้ความพยายาม อาศัยการกระทำจริงมีความอดทนมีความบากบั่น เราก็จะถึงจุดหมายที่เราต้องการได้สมตามความตั้งใจ ให้คิดไว้ในรูปอย่างนี้ แล้วเราก็ทำไปตามที่โอกาสจะทำได้
ในการปฏิบัติอย่างนั้น เราจะต้องทำให้สม่ำเสมอตลอดไป ต้องคอยเตือนตัวเองไว้บ่อยๆ ว่าสิ่งนี้เป็นสิ่งจำเป็นที่เราจะต้องทำ แล้วเราก็ทำเท่าที่นึกได้ พอจิตนึกขึ้นมาได้ก็ต้องทำทันทีในเรื่องนั้น คออยควบคุมความคิดความนึกของเราไว้ ให้ไปตามเส้นทางที่เราต้องการ ทำนานเข้าบ่อยเข้ามันก็ชินเป็นนิสัย เรื่องชั่วเรื่องร้ายทั้งหลวยนี้มันไม่ใช่ของดั้งเดิมของเรา แต่อาศัยการกระทำบ่อยๆ ก็เลยติดในสิ่งนั้น เช่นคนสูบบุหรี่ติดก็ไม่ใช่สูบมาตั้งแต่เกิดเมื่อไร เพิ่งมาหัดสูบเมื่อโตแล้ว ดื่มเหล้าติดงอมแงม ก็ไม่ใช่ติดมาตั้งแต่ออกมาจากท้องคุณแม่ เมื่อเล็กๆ ก็เขาไม่ได้หัดให้เราดื่มเหล้าสักหน่อย ให้ดื่มแต่น้ำนมเท่านั้นเอง จึงเจริญเติบโตขึ้นมาได้ แต่พอครั้นเติบโตเป็นหนุ่มเป็นน้อยไปเที่ยวอุตริดื่มสิ่งนั้นเข้า ดื่มบ่อยๆ จนกระทั่งติดเป็นนิสัย ไม่ได้ดื่มอยู่ไม่ได้กลายเป็นของจำเป็นสำหนับชีวิตไป อันนี้มันไม่ใช่ของเดิมแต่อาศัยการกระทำบ่อยๆ แล้วก็เลยติดในสิ่งนั้น คิดแล้วไม่ใช่เกิดประโยชน์ เกิดเหตุเกิดโทษแก่ชีวิต ทำลายสุขภาพทางจิตใจ สติปัญญาทรุดโทรมเสื่อมถอย ทรัพย์สมบัติก็ไม่เจริญงอกงาม อะไรๆ ก็เสื่อมลงไปทั้งนั้น สิ่งเหล่านั้นทำไมเราทำได้ ทั้งๆ ที่มันฝืนธรรมชาติร่างกายก็ไม่ต้องการ แต่ว่าฝืนเข้าไป กระทั่งว่าตกเป็นทาสของสิ่งนั้น ไม่สามารถถอนตนออกจากความเป็นทาสได้ นี่เป็นฝ่ายต่ำเรื่องที่ไม่ดี ก็ไม่เคยทำมาก่อน แล้วก็มาอุตริทำเข้า เลยกลายเป็นนิสัยเป็นสันดานไป
เราลองมาคิดในแง่ตรงกันข้าม คือว่าในฝ่ายต่ำนั้น เราทำได้ คือว่าทำจนกลายเป็นนิสัยสันดานแล้ว ทีนี้เรามาคิดว่า ฝ่ายดีนี้ก็น่าจะทำได้ เราเปลี่ยนกำลังเปลี่ยนความคิด ใช้สติปัญญาให้มากสักหน่อย กลับมาสร้างเสริมในด้านดีด้านงามต่อไป ก็ไม่เป็นเรื่องเหลือวิสัย เมื่อนิสัยในทางดีมีความละอายมีความกลัวต่อสิ่งชั่วสิ่งร้าย จิตใจก็มั่นคงอยู่ในคุณธรรม เราก็จะพ้นจากความทุกข์ความเดือดร้อนได้เหมือน กัน อันนี้เป็นตัวอย่างที่พูดให้เห็นง่ายๆ ว่า เป็นเรื่องที่ทำได้ ไม่ใช่เรื่องเหลือวิสัย ลำบากอะไรอย่างเดียวแต่ว่าให้พยายามกระทำเท่านั้น
ทีนี้การกระทำในด้านดีนี่แหละเรียกว่า การปฏิบัติธรรม การกระทำในด้านเสียนั้นไม่ชื่อว่า การปฏิบัติธรรม แต่เป็นการละเลยต่อธรรมะ ยิ่งมีการละเลยเพิกเฉยต่อธรรมมากเท่าใด ความตกต่ำทางจิตในก็มีมากขึ้นแต่ถ้าเราเข้าใกล้ธรรมะมากเท่าใด ความตกต่ำทางจิตใจก็มีมากขึ้น แต่ถ้าเราเข้าใกล้ธรรมะมากเท่าใด จิตใจก็จะสูงขึ้นสอาดขึ้นประณีตขึ้น แล้วก็จะมีความสุขทางใจเพิ่มขึ้น เรื่องอย่างนี้เป็นเรื่องที่ประจักษ์แก่ตน ผู้ใดประพฤติปฏิบัติก็จะเห็นผลด้วยตนเอง ว่ามีอะไรเกิดขึ้นในจิตใจของเราบ้าง เช่นเราไม่เคยเข้าวัดรักษาศีลฟังธรรม แล้วเรามาเริ่มเข้าวัดรักษาศีบฟังธรรมเข้า เราจะรู้สึกว่าสภาพชีวิตเปลี่ยนแปลงไป มีความรู้ในเรื่องชีวิตถูกต้องขึ้น มีสติปัญญาเพิ่มขึ้น จะคิดอะไรจะพูดจะทำอะไรก็มีหลักมีเกณฑ์ มีระเบียบประจำจิตใจ ไม่ทำอะไรตามอารมณ์ ตามสิ่งที่มากระทบ สมัยหนึ่งนี้เราไม่ได้ศึกษาธรรมะ จิตใจก็ไหลไปตามอำนาจของสิ่งแวดล้อมของอารมณ์ ที่มากระทบอะไรมากระทบก็พึมพับขึ้นมาทันที คล้ายกับน้ำมันกับไฟ พอมาใก้ลกันก็ลุกพึ๊บขึ้นมาทันที ทำให้เกิดความร้อนซ่าไปทั้งตัว จิตใจวู่วาม พูดคำไม่เหมาะกิริยาท่าทาง ไม่น่าดู มันเกิดง่าย เพราะเราไม่มีอะไรเป็นเครื่องยับยั้งชั่งใจ คล้ายๆ กับรถไม่มีห้ามล้อมันก็เกิดอันตราย แต่เมื่อเรามาศึกษาธรรมะเข้าวัดเข้าวา อ่านหนังสือบ้างฟังบ้าง แล้วเอาความรู้นั้นมาเป็นเครื่องประกอบการดำเนินชีวิต เราก็จะเห็นว่าชีวิตเปลี่ยนแปลงไปคือเปลี่ยนแปลงในทางที่ฉลาดขึ้น เข้าใจสิ่งต่างๆ ถูกต้องดีขึ้น การทำอะไรก็ไม่มีความประมาท รู้จักใช้เหตุใช้ผล ไม่เป็นคนอารมณ์ร้อนอารมณ์แรงมากเกินไป อันนี้คือผลที่ปรากฏแก่เราผู้เข้ามาปฏิบัติ ว่ามันเกิดผลแก่เราอย่างไร เมื่อเราได้เห็นผลเช่นนั้นแล้ว เราก็พอใจในการที่จะศึกษาปฏิบัติมากขึ้น เพราะชีวิตมันเปลี่ยนแปลงไปในางที่ดีงาม มีความสุขสงบทางด้านจิตใจขึ้นกว่าปกติ อันนี้เห็นได้ง่ายเหมือนสีดำกับสีขาว เห็นได้ชัดที่สุด ว่าสมัยหนึ่งนั้นเรามีสภาพจิตใจเป็นอย่างไร แล้วต่อมาสภาพจิตใจเป็นอย่างไรเห็นได้ชัด ถ้าเราเอาไปปฏิบัติแล้วเห็นได้ชัดว่าม้นเปลี่ยนแปลง จากขาวเป็นดำไปเลยทีเดียว
ทีนี้เมื่อเราเห็นว่ามันเป็นประโยชน์อย่างนั้น เราก็ทำต่อไปเรื่อยๆ หรือว่าเราไม่ทำแต่เพียงคนเดียว แต่ว่าชวนคนอื่นกระทำด้วย การชวนคนอื่นกระทำนั้นไม่ต้องชวนด้วยคำพูดเสมอไปหรอก แต่ว่าเราทำให้เขาเห็นทำความเป็นคนใจเย็นให้เขาเห็น เป็นคนสงบให้เขาเห็นเป็นคนไม่เร่าร้อนไม่วู่วามให้คนทั้งหลายเห็น เมื่อเขาเห็น เขาก็เห็นว่า เออเดี๋ยวนี้ไม่เหมือนเมื่อก่อน มีสภาพชีวิตแปลกไปจากเมื่อก่อน เขาก็พลอยได้รับความสุขใจจากเรา เมื่อก่อนนี้เขาได้รับความทุกข์จากเรา เช่นเวลาเราโกรธเราพูดคำหยาบ เราแสดงอาการไม่ดีออกไปอย่านึกใครจะไม่ได้รับผลจากเรา คนที่นั่งอยู่ข้างๆ นั้นพลอยเป็นทุกข์ด้วยทั้งนั้น ขอให้สังเกตตัวเราเอง เวบาเรานั่งใกล้คนที่กำลังโกรธ หรือกำลังพูดคำหยาบแสดงกิริยาที่ไม่เหมาะไม่ควร เราจะรู้สึกอย่างไร เราก็รู้สึกว่า ไม่สบายใจ มีอะไรๆเกิดขึ้นในใจ เช่นมีความหวาดกลัวกลัวมันจะขยำคอเราเข้า หรือจะแพ่นกระบานเราเข้าหรือจะเหวี่ยงอะไรมาถูกเราเข้า ก็ไม่สบายใจเพียงแต่เห็นคนอื่นแสดงกิริยาอาการว่าขาดการยับยั้งชั่งใจ เราก็ไม่สบายใจ แต่ว่าความไม่สบายใจที่เราได้รับนั้น มันเกิดขึ้นแล้วก็หายไป เราไม่ได้เอามาเป็นเครื่องเตือนใจให้เพิ่มเข้าสักนิดหนึ่งในเรื่องอย่างนี้ ประสบการมันเป็นประโยชน์แก่ชีวิตมาก ไม่ว่าประสบการณ์ในรูปใดๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตของเรานั้น ถ้าเราเอามาคิด มันจะเป็นเครื่องเตือนจิตสะกิดใจ เป็นครูเป็นผู้สอนเราทีเดียวในภาษาพระท่านใช้คำว่า โยนิโสมนสิการ โยนิโสมนสิการนี้เป็นคำบาลีอยู่หน่อย จำยาก แต่ให้เจ้าใจว่า การคิดโดยแยบคาย หมายความว่าคิดโดยแยบคาย การคิดโดยแยบคายนั้นคือการคิดหาเหตุหาผลของเรื่องนั้น หาคุณหาโทษของเรี่องนั้น หาประโยชน์และไม่มีประโยชน์จากเรื่องนั้น ไม่ว่าเรื่องอะไรเมื่อมันเกิดขึ้นในใจของเราแล้วเราอย่าปล่อยให้มันดับไปเฉยๆ แต่ให้เอาเรื่องนั้นมารเป็นเครื่องเตือนจิตใจเป็นผู้ชี้ทางชีวิตของเราต่อไป
การที่จะเอามาเป็นเครื่องเตือนใต นั้นก็คือการคิดโดยแยบคาย เมื่อมันดับไปแล้วก็เอามาคิดใหม่การคิดใหม่นั้นไม่ใช่คิดเพื่อให้เป็นทุกข์ แต่คิดเพื่อให้เกิดปัญญาการคิดอะไรเพื่อให้เกิดปัญญานั้น แม้สิ่งนั้นจะเป็นอดีตล่วงไปแล้วก็ไม่เสียหายไม่เป็นโทษ แต่ว่าเรื่องใดที่มันล่วงไปแล้วเราเอามาคิดด้วยอารมณ์ทุกข์นั้นไม่ได้ พระท่านไม่ให้คิดในรูปอย่างนั้น ที่พระพุทธเจ้าท่านสอนว่า อตีตํ นาน วา คเมยฺย อย่าคิดถึงสิ่งที่ล่วงมา หมายความว่า อย่าคิดถึงสิ่งที่ล่วงมาให้เป็นทุกข์ ถ้าคิดให้เป็นทุกข์แล้วมันเป็นบาปทางตจิตใจเป็นเรื่องที่ไม่สมควร แต่เราเอาเรื่องที่ล่วงมาแล้วนั้นมาคิด เพื่อให้เกิดปัญญา ให้เกิดความรู้แจ้งเห็นจริงในเรื่องนั้น เพื่อจะได้เป็นครูสอนใจต่อไป การคิดในเรื่องเช่นนั้นไม่เสียหาย เป็นเรื่องที่ควรจะได้กระทำ เพราะการคิดในเรื่องอย่างนั้นเขาเรียกว่า คิดด้วยปัญญา การคิดอะไรด้วยปัญญานั้นไม่ก่อให้เกิดความทุกข์ แต่ถ้าคิดด้วยความโง่ความเขลาแล้วก็เป็นทุกข์ เช่นเรานั่งกลุ้มใจ คนกลุ้มใจเพราะคิดถึงเรื่องอดีต เรื่องเก่าที่ผ่านมาแล้วเอามารคิดให้กลุ้มใจ คิดแล้วก็มือมัวไปหมดในจิตใจ ไม่เป็นทางออกเลย การคิดในรูปอย่างนั้นพระพุทธเจ้าท่านติเตียน เพราะเป็นการคิดด้วยความโง่ความเขลา ไม่ได้ ไม่ได้เกิดปัญญาอะไรชึ้นมา ท่านไม่ให้คิดอย่างนั้น แต่ให้เอามาวิเคราะห์วิยัยแยกแยะออกไปในเรื่องนั้น ว่าสิ่งนั้นก่ออะไรมันเกิดจากอะไร เมื่อเกิดแล้วสภาพจิตใจของเราเป็นอย่างไร มืดมัวเร่าร้อนกระวนกระวายหรืออย่างไร แล้วขณะสิ่งนั้นมาเกาะตั้งอยู่ในใจมันดีไหม ความเร่าร้อนนี้ดีไหม ความมืดบอดมันดีไหม ความวุ่นวายจิตใจดีไหม ลองถามตัวเอาเราก็จะได้ตอบตัวเองว่าไม่มีอะไรดี มันไม่ดีทั้งนั้น เรื่องอย่างนั้นมันไม่ดีทั้งนั้น เออแล้วทำไมมานั่งกลุ้มใจ ทำไมมาคิดให้เป็นทุกข์ ก็เพราะว่าเราไม่เข้าใจในวิธีการนั่นเอง ไม่ได้ศึกษาวิธีการคิดให้ถูกต้อง เลยก็มานั่งกลุ้มใจ
บางคนไม่ช่กลุ้มใจเพียงเล็กๆ น้อยๆ กลุ้มขนาดนอนไม่หลับแล้วมันจะลามไปถึงกินไม่ได้ด้วย กินไม่ลงกลุ้มใจกินไม่ลง มันเรื่องอะไรที่กลุ้มจนกินไม่ไดด้นอนไม่หลับ มันไม่ได้เรื่อง นั่นแหละคือความเขลาในเรื่องชีวิตที่เป็นเช่นนั้น เราไม่ควรจะเป็นอย่างนั้น แต่ว่าควรจะตีปัญหาอันนั้นให้มันแตกออกไป คนโบราณเขาว่าทุบให้แตก เมื่อไปเจออะไรแล้วทุบให้แตก ทุบด้วยสติด้วยปัญญา สติหมายความว่า รู้สึกตัวว่ากำลังเลอะเทอะรู้สึกกำลังไม่ได้เรื่อง แล้วเอาปัญญาตีมันลงไป ฟันลงไปฟันด้วยพระขรรค์ ถ้าไปดูภาพเขียนที่ผนัง จะเห็นภาพคนใช้พระขรรค์ฟันอะไรลงไป ฟันให้มันขาดมันเลย นั่นแหละคือตัวปัญญา สำหรับใช้พิจารณาแยกแยะในเรื่องนั้นเพื่อให้รู้ชัดเห็นชัดว่ามันคืออะไร แล้วจิตใจจะได้สงบจากเรื่องนั้น อะไรก็ตามถ้าเรารู้ชัดว่ามันคืออะไรแล้วมันหยุดทันที ถ้ายังไม่รู้แล้วก็ยังหลงเรื่อยไป เมาเรื่อยไปไม่รู้จักจบสิ้น แต่พอรู้ว่าคืออะไรแล้ว เรียกว่าถึงบางอ้อ มันก็หยุดเท่านั้นเองไม่มีอะไร ต่อไป อันนี้คือวิธีที่เราควรจะได้ศั้กษาในเรื่องนั้นๆ อย่างถูกต้อง แต่ว่าบางทีเราไม่อาจจะศึกษาด้วยตนเองได้ กำลังใจไม่พอ สติปัญญาไม่สมบูรณ์ เรียกตามภาษาธรรมะว่า บารมียังน้อย คำว่าบารมี หมายความว่า ทำบ่อยๆ ในเรื่องนั้นๆ ถ้าเราทำบ่อยๆ บารมีมันก็สูงขึ้น กำลังปัญญามากขึ้นกำลังสติมากขึ้น กำลังความอดทนมากขึ้น เขาเรียกว่า อินทรีย์แก่กล้า อินทรีย์คือความเชื่อความเพียร สติ ปัญญา มันมากขึ้นสมบูรณ์ขึ้น เมื่อสิ่งเหล่านี้มันสมบูรณ์พอกพูนมากขึ้น เราก็สามารถจะเอาชนะอะไรต่างๆ ได้ ไม่ยากเลยแม้แต่น้อย จึงต้องใช้สิ่งเหล่าๆ นี้ประกอบกันเข้า เป็นเครื่องมือที่จะแก้ไขสิ่งเหล่านั้น แต่ถ้าเรามันขาดตกบกพร่องยังไม่สมบูรณ์ เราก็ต้องเข้าใกล้ผู้รู้ คือเข้าใกล้พระบ้าง คฤหัสถ์บ้างก็ไม่เป็นไร ใครที่เป็นผู้รู้ธรรมดำรงชีวิตชอบ เป็นผู้แสดงออกตัวอย่างในทางความสุขความสงบในทางจิตใจ เราเข้าไปปรึกษาหารือในเรื่องการดำรงชีวิต เขาก็แนะนำเรา ว่าเราควรจะคิดอย่างไร ควรจะนึกอย่างไร ควรจะปฏิบัติจิตใจอย่างไร
| หน้าถัดไป >>
มองทุกให้เห็นจึงเป็นสุข
ทุกข์ซ้อนทุกข์
ไม่มีอะไรได้ดังใจเหมือนม้ากาบกล้วย
วันนี้เจ้าอยู่กับฉันพรุ่งนี้มันไม่แน่
มันเป็นเช่นนั้นเอง
ศีลธรรมและสัจจธรรม
แหล่งเกิดความทุกข์
องค์สามของความดี
หลักใจ
ทำดีเสียก่อนตาย
ตามรอยพุทธบาท
ฐานของชีวิต
ความพอใจเป็นทรัพย์อย่างยิ่ง
ชั่งหัวมัน
อนัตตาพาสุขใจ
ฤกษ์ยามที่ดี
อดีต ปัจจุบัน อนาคต
วิธีการสอนของพระพุทธเจ้า
สำนึกสร้างปัญญา
สอนลูกให้ถูกวิธี
ปฏิวัติภายนอกกับภายใน
ร้อนกายไม่ร้อนใจ
อย่าโง่กันนักเลย
การทำศพแบบประหยัด
คนดีที่โลกนับถือ
ความจริงอันประเสริฐ
เสรีต้องมีธรรม
ทาน-บริจาค
เกียรติคุณของพระธรรม
เกียรติคุณของพระธรรม (2)
พักกาย พักใจ
เกิดดับ
การพึ่งธรรม
อยู่ด้วยความพอใจไม่มีทุกข์
มรดกธรรม
ฝึกสติปัญญาปัญหาไม่มี
ทำให้ถูกธรรม
วางไม่เป็นเย็นไม่ได้