ศิลปะ หัตถกรรม สถาปัตยกรรม ประติมากรรม สันทนาการ >>

ประวัติศาสตร์ศิลป์

ยุค New Kingdom หรือยุคอาณาจักรใหญ่

เมื่อประมาณ 1,550-1,100 ปีก่อนคริสตศักราช สิ่งต่างๆ ของสมัยอาณาจักรกลางเดิมได้ถูกทำลายไปส่วนหนึ่ง มีการย้ายศูนย์กลางมาที่เมืองเทเบส มีหุบเขาสุสานของกษัตริย์และหุบเขาสุสานของราชินีอันยิ่งใหญ่ เป็นช่วงสมัยที่อาณาจักรอียิปต์มีความเจริญเป็นอย่างยิ่ง รวมทั้งสุสานตุตันคาร์เมนที่ได้กล่าวในเบื้องต้นด้วยเช่นกัน จึงมีศิลปะที่เกิดขึ้นอย่างหลากหลาย และเกิดเทคนิคใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา จึงเป็นยุคที่มีอิทธิพลต่อศิลปะเครื่องประดับของตะวันตก ในวันเวลาต่อมาช่วงสมัยของฟาโรห์เอเคนาตัน เมื่อประมาณ 1,350 ปีก่อนคริสตศักราช ที่เมืองอามานา เป็นผู้ที่ประกอบพิธีการต่างๆ ของสุสานตุตันคาร์เมน โดยมีงานประติมากรรมที่แตกต่างคือ ทำด้วยทองคำและมีการยกแขนขึ้นจากความเชื่อของเทพเจ้าแห่งพระอาทิตย์หรือเทพเจ้ารา เครื่องประดับตกแต่งต่างๆ จึงแสดงถึงวัฒนธรรมอันรุ่งเรืองของอียิปต์โบราณเป็นอย่างมาก ตั้งแต่บริเวณศีรษะลงไปถึงช่วงขา โดยมีรูปทรงของแมลงปีกแข็ง และมีสัญลักษณ์ของเทพเจ้า แต่ผลงานชิ้นเอกจากสุสานตุตันคาร์เมนคือ หน้ากากของพระองค์ที่ทำด้วยทองคำ มีการทาสีที่ใบหน้าด้วยสีฟ้า มีช่องดวงตาขนาดใหญ่ มีการตกแต่งบริเวณคางเป็นเครา จัดเป็นผลงานที่ประณีต สวยงามเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ยังมีการตกแต่งสุสานด้วยอัญมณีลาปิสลาซูลี่สีน้ำเงินเข้ม คาร์เนลเลี่ยน เทอร์คอยส์ เป็นต้น ส่วนวิธีการผลิตเป็นขั้นตอนอย่างง่ายๆ มีการหล่อทองคำ แล้วเทไปตามแบบที่แกะด้วยหินมีการตกแต่งเครื่องประดับด้วยการลงยา การเดินเส้นด้วยทองคำ มีการฝังอัญมณีแบบเจียระไนเบี้ยหลังเต่าอย่างง่าย เป็นต้น

ทางด้านการออกแบบเครื่องประดับสมัยอียิปต์โบราณนี้ ส่วนใหญ่เป็นการออกแบบตามวิถีชีวิตและตามความเชื่อของเทพเจ้า ซึ่งส่วนใหญ่นำสัตว์เป็นสัญลักษณ์ในการออกแบบ เช่น เหยี่ยว สุนัข แมลงปีกแข็ง เป็นต้น นอกจากนี้ยังใช้รูปทรงของดอกบัว ต้นปาปิรัสร่วมอยู่ด้วย

เครื่องประดับสมัยอียิปต์ค้นพบจำนวนหลายชิ้น รวมทั้งเครื่องประดับตกแต่งต่างๆ โดยเฉพาะชิ้นที่สำคัญๆ ที่พบในสุสานฟาโรห์ตุตันคาร์เมน พบเครื่องประดับรูปแมลงปีกแข็งสีเขียวโปร่งใส เรียกกันว่า chalcedony เป็นสัญลักษณ์เทพเจ้าแห่งพระอาทิตย์ พบเครื่องประดับที่เป็นสัญลักษณ์แห่งพระเจ้ารา พระเจ้าโฮรัส ส่วนในช่วงปลายของยุคอาณาจักรเก่า พวกพืช ดอกบัว ได้เป็นเครื่องประดับต่อมาที่พบในช่วงสมัยอาณาจักรกลาง ส่วนใหญ่เป็นดอกบัวบาน แสดงถึงความเจริญเติบโต

การออกแบบเครื่องประดับสมัยอียิปต์นี้ค่อนข้างเข้มงวดกับการใช้หลักการออกแบบ มีการจัดองค์ประกอบศิลป์ภายใน มีเอกลักษณ์ลักษณะเป็นส่วนบุคคล มีขนาดเล็ก และนิยมใช้หินสีโดยเฉพาะการใช้หินลาปิสลาซูลี่ คาร์เนลเลี่ยน และเทอร์คอยส์ โดยการจัดระเบียบการใช้สี จัดวางเป็นชิ้นเหมือนโมเสส จัดวางแบบสมมาตรเป็นส่วนใหญ่ เป็นเช่นนี้จนถึงช่วงสมัยอาณาจักรใหม่ ส่วนเทคนิคการผลิตเครื่องประดับสมัยอียิปต์เป็นเทคนิคที่ไม่ซับซ้อนมากนัก นิยมใช้ทองคำเป็นโลหะหนัก เนื่องจากเป็นสัญลักษณ์แทนเทพเจ้าได้ดี โดยเฉพาะเทพเจ้ารา จึงมีการหล่อทองคำ ผสมทองแดงเล็กน้อย มีการขัดแต่งโลหะ การฉลุและการใช้เส้นลวดทองคำ

นอกจากนี้ผลงานการร้อยเครื่องประดับสมัยอียิปต์โบราณ เป็นเครื่องประดับที่มีความโดดเด่นเช่นกัน โดยอียิปต์เป็นแหล่งวัสดุธรรมชาติในการทำลูกปัดที่สำคัญ โดยเฉพาะลาปิสลาซูลี่จัดเป็นหินชนิดหนึ่งที่สำคัญมากในการทำเครื่องประดับของชาวอียิปต์

อียิปต์เป็นหนึ่งของเมืองโบราณที่มีความศิวิไลมากที่สุด ขณะที่เศรษฐกิจและสังคมองค์การชาวอียิปต์ค่อนข้างหรูหรา มีความแตกต่างทางชนชั้นเป็นส่วนสำคัญมากที่สุด ชาวอียิปต์ใช้แม่น้ำไนล์ในการเดินทางเป็นหลัก และมีการควบคุมกฎเกณฑ์ มีการเคลื่อนย้ายที่ดี พระมหากษัตริย์ ชาวอียิปต์มีความหมายต่อกฎระเบียบในการดำรงชีวิตอยู่ อียิปต์ค่อนข้างมีฐานะดี มีโลหะมีค่า มีแร่ธาตุที่จำเป็นต่อการใช้งานที่หรูหรา มีระบบการป้องกันตัวที่ดี ศิลปะและเครื่องประดับของชาวอียิปต์มีความลงตัวสูง การร้อยเครื่องประดับจึงมีต้นแบบมาจากสมัยอาณาจักรเก่า เมื่อประมาณ 2200 ปีก่อนคริสตศักราช มีลวดทองคำ ตลอดระยะเวลาในสมัยอาณาจักรกลาง เมื่อประมาณ 2133 ถึง 1786 ก่อนคริสตศักราช มีการทำผ้ากันเปื้อนด้วยหินหลากหลายสี แต่มาในช่วงอาณาจักรใหม่ 1650 ถึง 1085 ปีก่อนคริสตศักราช นำเครื่องประดับเหล่านี้ใส่ลงไปในหลุมฝังศพ รวมทั้งสุสานกษัตริย์ตุตันคาร์เมนด้วยเช่นกัน สิ่งของบางชิ้นได้ใช้มาตลอดสมัยรัชกาลของพระองค์

วัสดุต่างๆ ของชาวอียิปต์ก็จะพิมพ์คำว่า sha หมายความว่า โชคดี ชาวอียิปต์เชื่อว่าจะให้ความสบายหลังความตาย สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันของความตายนั้นได้ จึงได้เฟ้นและเลือกใช้วัสดุอย่างดี เนื่องจากเชื่อว่าทำเพื่อพระเจ้า ถึงแม้ว่าจะสร้างคุณค่าให้กับชาวอียิปต์ได้ โดยใช้หินแอมิทิสซึ่งได้รับความนิยมมากในช่วงอาณาจักรกลาง ทองคำ คาร์เนลเลี่ยน ลาปิสลาซูลี่ และเทอร์คอยส์ สีของหินมีความหมายต่อชาวอียิปต์และต่อลูกค้า เทอร์คอยส์สีเขียวได้เป็นสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์ของโลก และสีอื่นๆ คือชีวิตใหม่ สีแดงของคาร์เนลเลี่ยนคือสีของเลือด เป็นสัญลักษณ์แห่งชีวิต ขณะที่ลาปิสลาซูลี่สีน้ำเงินเข้ม เป็นสัญลักษณ์แห่งท้องฟ้า ส่วนหินอื่นๆ ที่นิยมคือการ์เนต นิยมในสมัยอาณาจักรกลาง โดยนำมาออกแบบตามรูปทรงธรรมชาติของหิน มีการใช้คริสตัลมาผสมร่วมกันด้วย

นอกจากนี้ชาวอียิปต์ได้พัฒนาการวาดภาพเพื่อบรรยายสิ่งต่างๆ ผู้ผลิตและช่างโลหะจึงแสดงการทำงานร่วมกับนักออกแบบเครื่องประดับกับวัสดุที่หลากหลาย และการทำเครื่องประดับต้องใช้ทักษะพิเศษ จึงได้แยกส่วนต่างๆ การทำเครื่องประดับออกจากกัน โดยแบ่งเป็นช่างทองผู้ช่วยทางด้านแรงงาน ช่างเจียระไนหิน คนร้อยลูกปัด และช่างทำเครื่องแก้ว

นักออกแบบเครื่องประดับชาวอียิปต์ ได้นำลูกปัดมาเรียงเป็นบล็อกเป็นรูปร่างของหินสี ที่เรียกว่า wesekh หรือปกคอเสื้อ โดยแยกลูกปัดเป็นชั้นๆ ลักษณะแบบสร้อยคอ ต่อมาเมื่อเริ่มต้นอาณาจักรกลาง ปกคอเสื้อจึงมีบุคลิกตามรสนิยมของผู้สวมใส่ จึงมีกระดูก งาช้าง ไม้ ใบไม้ทองคำ แก้ว โลหะประกอบเข้าด้วยกัน มีการผสมผสานพื้นที่ในส่วนของสร้อยคอ มีแนวความคิดในการออกแบบเชิงภาพรวม แต่มีความละเอียดลออ ความเรียบง่ายเกิดขึ้นในช่วงแรก หลังจากนั้นจะมีการออกแบบให้กลมกลืนกับบุคลิกของแต่ละคนมากยิ่งขึ้น

ชาวอียิปต์เมื่อ 1,400 ปีก่อนคริสตศักราช ได้เริ่มต้นผลิตลูกปัดแก้วเป็นตลาดทางการค้าขนาดใหญ่เป็นครั้งแรก ซึ่งอยู่ในช่วงอาณาจักรใหม่ สั่งทำโดยคำสั่งของฟาโรห์และเหล่าข้าหลวงชั้นสูง ถึงกระนั้นโรงงานแก้วของชาวอียิปต์ก็ยังอยู่ที่พระราชวัง Thebes Amarna และ Shurak ได้รับการสนับสนุนโดยราชวงศ์ชั้นสูง

ในช่วง 1,200 ปีก่อนคริสตศักราช เป็นยุคตกต่ำในการผลิตเครื่องประดับของช่วงอาณาจักรใหม่ และนำมาฟื้นฟูอีกครั้งในช่วงพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชได้พบศูนย์กลางคอสโมโพลิแทน ซึ่งเป็นศูนย์กลางการค้านานาชาติ การผลิตในสมัยพระเจ้าเล็กซานเดรียทำให้มีการศึกษาการผลิตเครื่องประดับแบบอียิปต์กลับมาอีกครั้ง

 

ลักษณะต้นแบบโบราณ
ลักษณะการนำต้นแบบมาพัฒนาใหม่ หรือมาเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบ
ลักษณะการออกแบบรูปแบบใหม่
ลักษณะการออกแบบข้ามวัฒนธรรม
ประวัติศาสตร์ศิลปะเครื่องประดับตะวันตกยุดก่อนประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์ศิลปะเครื่องประดับอารยธรรมโบราณ
ศิลปะเครื่องประดับอียิปต์ (Egypt)
ยุค Middle Kingdom หรือยุคอาณาจักรกลาง
ยุค New Kingdom หรือยุคอาณาจักรใหญ่
ศิลปะเครื่องประดับเมโสโปเตเมีย (Mesopotamia)
ศิลปะเครื่องประดับมิโนอัน - ไมซีเน (Minoan - Mycenae)
ศิลปะเครื่องประดับกรีก (Greek)
ศิลปะเครื่องประดับอีทรัสกัน (Etrucan)
ศิลปะเครื่องประดับเชลติก (Celtic)
ยุค Princes
ยุควัฒนธรรม La Tene
ยุคขยายอาณาจักร
ยุคอิทธิพลของนักรบ
ศิลปะเครื่องประดับโรมัน (Rome)
ศิลปะเครื่องประดับไบแซนไทน์ (Byzantine)
ประวัติศาสตร์ศิลปะเครื่องประดับตะวันตกยุคประวัติศาสตร์
ศิลปะเครื่องประดับช่วงยุคกลาง
ศิลปะเครื่องประดับโกธิค (Gothic)
ศิลปะเครื่องประดับสมัยเรอนาซองค์ (Renaissance)
ศิลปะเครื่องประดับแมนเนอริส (Mannerist)
นักออกแบบเครื่องประดับ Benvenuto Cellini
การออกแบบเครื่องประดับเชิงนามธรรม
ศิลปะเครื่องประดับสมัยอลิซาเบธที่ 1
ศิลปะเครื่องประดับบาร็อค (Baroque)
การประดิษฐ์ตกแต่ง
ศิลปะเครื่องประดับโรโคโค
ศิลปะเครื่องประดับนีโอคลาสสิค
ศิลปะเครื่องประดับคาเมโอ (Cameo)
ศิลปะเครื่องประดับนโปเลียนกับโจเซฟิน (Napoleon & Josephine)
ศิลปะเครื่องประดับแบบคัทสติล (Cut Steel)
ศิลปะเครื่องประดับแบบแชทเทิลเลน (Chatelaines)
ศิลปะเครื่องประดับสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19
ศิลปะเครื่องประดับอนุรักษ์นิยม
นักออกแบบเครื่องประดับ Fortunato Pio Castellani
นักออกแบบเครื่องประดับชื่อนาย Carlo Giuliano
นักออกแบบเครื่องประดับชื่อ Peter Carl Faberge
นักออกแบบเครื่องประดับชื่อ Eugene Fontenay
ศิลปะเครื่องประดับอาร์ตนูโว (Art Nouveau)
นักออกแบบเครื่องประดับชื่อ Rene Lalique
นักออกแบบเครื่องประดับชื่อ Charles Lewis Tiffany
ศิลปะเครื่องประดับวิคตอเรีย (Victoria)
ศิลปะเครื่องประดับสมัยใหม่
ศิลปะเครื่องประดับช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1
นักออกแบบเครื่องประดับ Fulco di Verdura
ศิลปะเครื่องประดับอาร์ตเดโค (Art Deco)
ศิลปะเครื่องประดับยุค 1920
ศิลปะเครื่องประดับยุค 1930
นักออกแบบเครื่องประดับเทียมชื่อ McClelland Barclay
ศิลปะเครื่องประดับยุค 1940
บริษัทที่ออกแบบเครื่องประดับเทียมชื่อ Trifari
บริษัทเครื่องประดับเทียมชื่อ Coro
บริษัทเครื่องประดับเทียมชื่อ Boucher
บริษัทเครื่องประดับเทียมชื่อ Haskell
บริษัทเครื่องประดับแท้ชื่อ Cartier
บริษัทเครื่องประดับแท้ชื่อ Van Cleep & Arpels
ศิลปะเครื่องประดับยุค 1950
นักออกแบบเครื่องประดับชื่อ Daniel Swarovski
บริษัทเครื่องประดับเทียมชื่อ Eisenberg
บริษัทเครื่องประดับเทียมชื่อ Hobe
ศิลปะเครื่องประดับยุค 1960
นักออกแบบเครื่องประดับชื่อ Bulgari
ศิลปะเครื่องประดับยุค 1970
ศิลปะเครื่องประดับยุค 1980
ศิลปะเครื่องประดับยุค 1990
ศิลปะเครื่องประดับหลังสมัยใหม่
ศิลปะเครื่องประดับมินิมอล (Minimalism)
ศิลปะเครื่องประดับเชิงศิลปะ
ศิลปะเครื่องประดับเชิงอุตสาหกรรม

แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย

ข้อเขียน-บทความ »

» จินตนา แก้วขาว กราบเธอที่ดวงใจ
» ทะริด ตะนาวศรี คนไทยที่ถูกลืม
» ปู่เย็น ณ สะพานลำใย แห่งลุ่มแม่น้ำเพชรบุรี

» จอมยุทธ แห่งบ้านจอมยุทธ (รวมงานเขียน)
» ฉายเดี่ยว (รวมงานเขียน)
» งูเขียว หางบอบช้ำ (รวมงานเขียน)

» ตีหัวเข้าบ้าน ตะคอกโลก ตีหัวหมา
» ผายลมนี้มีผลย้อนหลัง
» ได้แต่หวังว่า เราจะอยู่ร่วมกันได้บนโลกที่เปรียบเสมือนบ้านของเราใบนี้ ด้วยความรู้สึกที่ดีประดุจดั่งกินข้าวจากหม้อเดียวกัน

» ขอเป็นตาแก่ขี้บ่นในหัวใจเธอ
» เมื่อคนขับรถปลอมตัวไปเล่นหุ้น (บันทึกการเล่นสด)

นิยาย-เรื่องสั้น »

» ตำนานบันลือโลก
» บันทึกทรราชย์
» ผมเกือบได้เป็นนักแต่งเพลงชื่อดังเสียแล้ว
» ชีวิตเริ่มต้นอีกครั้งหลังเกษียณ
» แสนยานุภาพแห่งการรอคอย