ศิลปะ หัตถกรรม สถาปัตยกรรม ประติมากรรม สันทนาการ >>
ศิลปะเครื่องประดับช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1
ปี ค.ศ.1914 เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 จากภาวะสงครามทำให้เหล่านักออกแบบเครื่องประดับและช่างทองทั้งหลายต่างพากันปิดกิจการลงหลายบริษัทเพราะขาดทั้งผู้อุปการะของชนชั้นสูงและมีผู้ซื้อเครื่องประดับจำนวนน้อยลง
จึงทำให้ช่างทำเครื่องประดังต่างพากันไปเป็นทหารเป็นช่างทำกระสุน ตราสัญลักษณ์ทางทหาร หรือทกโลหะเพื่อสงครามเป็นอันมาก ประกอบกับล้มหายตายจากกันไปบ้าง จึงทำให้วงการเครื่องประดับในช่วงสงครามนี้ เงียบไปมากทั้งนี้มิใช้ว่าวงการเครื่องประดับจะตามไปพร้อมกับสงครามเสียทีเดียว ในช่วงนี้เองได้เป็นจุดสำคัญ โดยเกิดการปฏิบัติทางด้านวงการแฟชั่นเสื้อผ้าครั้งใหญ่ที่มีอิทธิพลต่อวงการเครื่องประดับตามมาด้วย โดยเฉพาะเครื่องประดับ Costume jewelry หรือเครื่องประดับเทียม ทำให้วิธีการออกแบบเสื้อผ้าชุดแต่งกายและการออกแบบเครื่องประดับมีการเปลี่ยนแปลงไปด้วยช่วงนี้ ได้เกิดเสื้อผ้าแบบ haute couture หรือเสื้อผ้าสำหรับชนชั้นสูงขึ้นเป็นช่วงที่สตรีมีความต้องการความเท่าเทียมกันกับผู้ชาย และประกอบกับสงครามทำให้ผู้หญิงจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพ เพื่อให้มีความเหมาะสมสำหรับภาวะอันตึงเครียดนี้เสื้อผ้าของชนชั้นสูงยุคนี้จึงถูกเปลี่ยนให้มีลักษณะคล้ายกับผู้ชาย โดยมีการสวมกางเกงหรือกระโปรงสั้นชั้นเดียวแทนกระโปรงสุ่มที่มีผ้าซับในอยู่หลายชั้น มีการสวมเสื้อสูท ใส่หมวกแบบผู้ชาย จึงทำให้บุคลิกของสุภาพสตรีที่มีลักษณะ S หรือลักษณะดันทรง เอวคอดจากการสวม corset เจ้าเนื้อ และเสริมสะโพก เปลี่ยนมาเป็นลักษณะสูงโปร่ง สง่างาม และผอมเพรียวมากขึ้น เพื่อความคล่องตัวในการทำงานทั้งสิ้น
นักออกแบบที่มีชื่อเสียง ซึ่งเป็นผู้เปลี่ยนบุคลิกภาพของสุภาพสตรีนี้คือ Coco Chanel เนื่องจากเป็นคนที่มีรูปร่างของตนเองผอมสูง ประกอบกับสุภาพสตรีไม่สะดวกในการทำงานและไม่คล่องตัวในการหลีกเลี่ยงสงครามด้วยชุดต่างกายแบบเก่า จึงได้ออกแบบชุดแต่งกายแบบใหม่นี้ขึ้นมา จากการนำการแต่งกายของผู้ชายหรือชุดสูทมาดัดแปลง เปลี่ยนกระโปรงให้บางและสั้นลง โดยสังคมในช่วงนี้ผู้หญิงมีบทบาทสูงมาก ทำงานมากและเริ่มมีกิจกรรมที่ไม่แตกต่างจากผู้ชายมากนัก Chanel จึงประสบความสำเร็จในรูปแบบใหม่ทั้งการแต่งกายและการออกแบบเครื่องประดับให้เหมาะสมกับการแต่งกายมากขึ้น เกิดแฟชั่นการแต่งกายและการออกแบบเครื่องประดับมากขึ้นและชัดเจน จัดเป็นการเข้าสู่ยุดของความเป็นสมัยใหม่ที่ชัดเจน ถึงแม้ช่วงสงครามโลกได้สิ้นสุดแล้วเครื่องประดับของ Chanel ก็ยังคงเป็นที่นิยม เพราะนอกจากผู้หญิงได้หลงสู่ความสง่างามกับแฟชั่นใหม่ๆ แล้ว เครื่องประดับแท้ก็เป็นอันตรายสำหรับสุภาพสตรีด้วยเช่นกัน
แต่การออกแบบเครื่องประดับของ Chanel ได้นำลักษณะทางประวัติศาสตร์ในยุดก่อนมาเป็นแรงบันดาลใจจำนวนหลายชิ้น และได้เสนอแนวทางความเป็นสมัยใหม่ร่วมอยู่ด้วย เพื่อให้เหมาะสมกับการแต่งกายและกาลสมัย การออกแบบเครื่องประดับจึงนิยมออกแบบเป็นเครื่องประดับเทียม ที่สามารถสอนงตอบต่อการเคลื่อนไหวของแฟชั่นเครื่องแต่งกายได้ดี
นักออกแบบเครื่องประดับแท้ที่มีชื่อเสียงและร่วมสมัยอีกคนหนึ่งคือนาย Fulco di Verdura เป็นนักออกแบบเครื่องประดับชาวอิตาลี เป็นที่รู้จักกันดีของสังคมคนชั้นสูง บุคคลที่มีชื่อเสียง ดารา นักแสดง และพระบรมวงศานุวงศ์ ทำให้นาย Verdura มีผลงานเครื่องประดับอันเป็นที่รู้จัก
ลักษณะต้นแบบโบราณ
ลักษณะการนำต้นแบบมาพัฒนาใหม่ หรือมาเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบ
ลักษณะการออกแบบรูปแบบใหม่
ลักษณะการออกแบบข้ามวัฒนธรรม
ประวัติศาสตร์ศิลปะเครื่องประดับตะวันตกยุดก่อนประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์ศิลปะเครื่องประดับอารยธรรมโบราณ
ศิลปะเครื่องประดับอียิปต์ (Egypt)
ยุค Middle Kingdom หรือยุคอาณาจักรกลาง
ยุค New Kingdom หรือยุคอาณาจักรใหญ่
ศิลปะเครื่องประดับเมโสโปเตเมีย (Mesopotamia)
ศิลปะเครื่องประดับมิโนอัน - ไมซีเน (Minoan - Mycenae)
ศิลปะเครื่องประดับกรีก (Greek)
ศิลปะเครื่องประดับอีทรัสกัน (Etrucan)
ศิลปะเครื่องประดับเชลติก (Celtic)
ยุค Princes
ยุควัฒนธรรม La Tene
ยุคขยายอาณาจักร
ยุคอิทธิพลของนักรบ
ศิลปะเครื่องประดับโรมัน (Rome)
ศิลปะเครื่องประดับไบแซนไทน์ (Byzantine)
ประวัติศาสตร์ศิลปะเครื่องประดับตะวันตกยุคประวัติศาสตร์
ศิลปะเครื่องประดับช่วงยุคกลาง
ศิลปะเครื่องประดับโกธิค (Gothic)
ศิลปะเครื่องประดับสมัยเรอนาซองค์ (Renaissance)
ศิลปะเครื่องประดับแมนเนอริส (Mannerist)
นักออกแบบเครื่องประดับ Benvenuto Cellini
การออกแบบเครื่องประดับเชิงนามธรรม
ศิลปะเครื่องประดับสมัยอลิซาเบธที่ 1
ศิลปะเครื่องประดับบาร็อค (Baroque)
การประดิษฐ์ตกแต่ง
ศิลปะเครื่องประดับโรโคโค
ศิลปะเครื่องประดับนีโอคลาสสิค
ศิลปะเครื่องประดับคาเมโอ (Cameo)
ศิลปะเครื่องประดับนโปเลียนกับโจเซฟิน (Napoleon & Josephine)
ศิลปะเครื่องประดับแบบคัทสติล (Cut Steel)
ศิลปะเครื่องประดับแบบแชทเทิลเลน (Chatelaines)
ศิลปะเครื่องประดับสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19
ศิลปะเครื่องประดับอนุรักษ์นิยม
นักออกแบบเครื่องประดับ Fortunato Pio Castellani
นักออกแบบเครื่องประดับชื่อนาย Carlo Giuliano
นักออกแบบเครื่องประดับชื่อ Peter Carl Faberge
นักออกแบบเครื่องประดับชื่อ Eugene Fontenay
ศิลปะเครื่องประดับอาร์ตนูโว (Art Nouveau)
นักออกแบบเครื่องประดับชื่อ Rene Lalique
นักออกแบบเครื่องประดับชื่อ Charles Lewis Tiffany
ศิลปะเครื่องประดับวิคตอเรีย (Victoria)
ศิลปะเครื่องประดับสมัยใหม่
ศิลปะเครื่องประดับช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1
นักออกแบบเครื่องประดับ Fulco di Verdura
ศิลปะเครื่องประดับอาร์ตเดโค (Art Deco)
ศิลปะเครื่องประดับยุค 1920
ศิลปะเครื่องประดับยุค 1930
นักออกแบบเครื่องประดับเทียมชื่อ McClelland Barclay
ศิลปะเครื่องประดับยุค 1940
บริษัทที่ออกแบบเครื่องประดับเทียมชื่อ Trifari
บริษัทเครื่องประดับเทียมชื่อ Coro
บริษัทเครื่องประดับเทียมชื่อ Boucher
บริษัทเครื่องประดับเทียมชื่อ Haskell
บริษัทเครื่องประดับแท้ชื่อ Cartier
บริษัทเครื่องประดับแท้ชื่อ Van Cleep & Arpels
ศิลปะเครื่องประดับยุค 1950
นักออกแบบเครื่องประดับชื่อ Daniel Swarovski
บริษัทเครื่องประดับเทียมชื่อ Eisenberg
บริษัทเครื่องประดับเทียมชื่อ Hobe
ศิลปะเครื่องประดับยุค 1960
นักออกแบบเครื่องประดับชื่อ Bulgari
ศิลปะเครื่องประดับยุค 1970
ศิลปะเครื่องประดับยุค 1980
ศิลปะเครื่องประดับยุค 1990
ศิลปะเครื่องประดับหลังสมัยใหม่
ศิลปะเครื่องประดับมินิมอล (Minimalism)
ศิลปะเครื่องประดับเชิงศิลปะ
ศิลปะเครื่องประดับเชิงอุตสาหกรรม