ศิลปะ หัตถกรรม สถาปัตยกรรม ประติมากรรม สันทนาการ >>
ศิลปะเครื่องประดับโรมัน (Rome)
หลังจากสิ้นสุดอารยธรรมของชาติอิทรัสกัน ได้กลายมาเป็นชาวอิตาลีโรมัน โดยอาณาจักรโรมันอยู่ในช่วงระหว่าง 500 ปีก่อนคริสตศักราช จนถึงปี ค.ศ.395 ซึ่งได้แบ่งอาณาจักรออกเป็นยุคต่างๆ ดังนี้
การแบ่งอาณาจักรโรมันแบ่งออกเป็น 3 ยุคดังนี้
- ยุค Republican Period หรือเรียกว่ายุคสาธารณรัฐ อยู่ในช่วงระหว่า 500 ปีก่อนคริสตศักราช ถึง 27 ปีก่อนคริสตศักราช
- ยุค Early Imperial Period หรือเรียกว่ายุคจักรวรรดิตอนต้น อยู่ในช่วงระหว่าง 27 ปีก่อนคริสตศักราชถึงปี ค.ศ.28
- ยุค Late Imperial Period หรือเรียกว่ายุคจักรวรรดิตอนปลาย อยู่ในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 285 ถึงปี ค.ศ.395
ในช่วงต้นของสมัยโรมันยุค Republican Period หรือเรียกว่ายุคสาธารณรัฐ เมื่อประมาณ 500 ถึง 27 ปีก่อนคริสตศักราชมีลักษณะเรียบง่ายไปจนถึงสร้างเป็นจักรวรรดิโรมัน มีการขยายอาณาจักรโรมจึงกลายเป็นศูนย์กลางแห่งอำนาจ มีโครงสร้างทางการเมืองและสังคมที่ซับซ้อนมากยิ่งขึ้น
เมื่อพระเจ้าซีซาร์ถูกปลงพระชนม์เมื่อ 44 ปีก่อนคริสตศักราช ออกุสตุสหลานชายหรือบุตรบุญธรรมได้ชนะศัตรูทั้งหลายและตั้งตนเป็นจักรพรรดิ์โรมันพระองค์แรกเมื่อ 27 ปีก่อนคริสตศักราช หลังจากนี้ดินแดนเมดิเตอร์เรเนียนมีแต่ความเจริญรุ่งเรืองยาวนานถึง 200 ปี หลังจากเข้าศตวรรษที่ 3 อาณาจักรแห่งจี้จึงได้ล่มสลายลง เกิดจากความสับสนวุ่นวายภายในของอาณาจักรเอง จนกระทั่งจักรพรรดิในปี ค.ศ.473 อาณาจักรโรมพ่ายแพ้แก่ชาวเออเมเนียและชาวอัสซีเรีย ซึ่งอยู่ทางตะวันออกของเยอรมันและทางตอนเหนือของอังกฤษ จึงจำเป็นต้องอพยพออก และได้ไปสิ้นสุดที่ดินแดนใหม่คือ กรุงคอนสแตนติโนเปิล
ศิลปะของโรมันได้ปรากฏขึ้นโดยเน้นความงามทางกายภาพ โดยเฉพาะความงามของพระเจ้าอะเธน่าที่ชาวโรมันให้ความนับถือ ต่อมาเมื่อศาสนาคริสต์เข้ามามีบทบาทในอาณาจักรโรมันทำให้การออกแบบเครื่องประดับได้รับอิทธิพลในการใช้สัญลักษณ์เพื่อศาสนาเข้าไปด้วย แต่การออกแบบยังมีลักษณะเรขาคณิต โดยเฉพาะการใช้รูปทรงโค้งที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวโรมัน
เครื่องประดับของโรมันมีรสนิยมแบบตะวันออก ใช้หินสีเช่นเดียวกันกับอิทรัสกันที่ใช้ทองคำมาตกแต่งผิวหน้า มีการใช้สีและทองคำอีกรูปแบบหนึ่ง เครื่องประดับในโรมไม่ปรากฏอย่างหรูหราแต่อีกประมาณร้อยปีจึงปรากฏแหวน สร้อยคอ และเครื่องประดับอื่นๆ ของชาวโรมัน ความกว้างใหญ่ของพระจักรพรรดิทำให้การค้ามีเครือข่าย มีการใช้วัสดุมีค่า มีไข่มุกและปะการังที่มาจากอ่าวเปอร์เซีย และมีมรกตที่มาจากเหมืองแร่อียิปต์ซึ่งอยู่ใกล้ทะเลแดงก็นำมาทำสร้อยคอและต่างหู การค้าของยุโรปทางเหนือได้ทำการค้ากับอังกฤษและมีการนำอำพันมาจากบอลติก โดยชาวเรือโรมันเป็นที่ขึ้นชื่อของชาวเมดิเตอร์เรเนียน ในการค้นพบอินเดีย พม่าและศรีลังกา ซึ่งเป็นแหล่งหลักๆ ของทับทิม แซฟไฟร์ และการ์เนต ชาวโรมันก็เป็นผู้ค้นพบ นอกจากนี้ยังพบห้องปฏิบัติการเก่าชาวเฮเลนนิสติคสมัยอเล็กซานเดรียในโรม ซึ่งเป็นศูนย์กลางในการผลิตเครื่องประดับของสำนักพระราชวังชาวโรมัน อย่างไรก็ตามการทำงานของช่างฝีมือของโรมได้มาจากจังหวัดที่อยู่ทางตะวันออกเป็นหลัก
จนมาถึงช่วงปลายของอาณาจักรโรมัน หรือยุค Late Imperial Period หรือที่เรียกว่ายุคจักรวรรดิตอนปลายนั้น มีการออกแบบเครื่องประดับโดยการยึดการจัดอัญมณีแบบกากบาทมากยิ่งขึ้น และเริ่มต้นมีเนื้อหาเรื่องราวเกี่ยวกับศาสนามากขึ้นด้วยเช่นกัน
ในช่วงปี 100 ถึง 400 เป็นช่วงยุคทองของการทำแก้ว ชาวโรมันนำลูกปัดแก้วไปเป็นวัสดุทางการค้า โดยการผลิตมีการจัดการของสี แพทเทิร์น และการผสมผสานเทคนิค เครื่องประดับจากชาวโรมัน สนองตอบความต้องการของสังคมอย่างกว้างขวาง มีการแลกเปลี่ยนไกลไปทางตอนเหนือถึงสแกนดิเนเวีย และไกลไปทางตะวันออกและใต้
หลังจากชัยชนะของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ได้มีการฝึกช่างทำเครื่องประดับซึ่งมาจากการออกแบบภายในของอียิปต์ ช่างฝีมือมาจากศูนย์กลางที่ตั้งใหม่จังหวัดหนึ่งของโรมัน มีการจัดตั้งโรงงาน ทำเทคนิคและรูปแบบ มีการใช้เทคนิคการผลิตระยะยาว จัดเป็นความคิดสร้างสรรค์ในการจัดการ มีเตาหลอมละลายขนาดใหญ่กว่าด้วยไฟที่ร้อนกว่าเพื่อเป็นการสร้างสรรค์ผลงานให้แปลกมากยิ่งขึ้น ส่วนผสมการทำแก้ว มีทราย ด่าง และตัวทำให้เกิดสีเท่านั้น เป็นการผลิตแก้วที่มีเนื้อแก้วได้เพียวกว่า มีการนำหลอดเป่าแล่นเข้ามา ทำให้โรงงานเครื่องประดับทันสมัยมากขึ้นเปิดเส้นทางในการค้นหาเทคนิคใหม่ๆ ทั้งรูปแบบและการตกแต่งลวดลายเสมอ
ลักษณะต้นแบบโบราณ
ลักษณะการนำต้นแบบมาพัฒนาใหม่ หรือมาเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบ
ลักษณะการออกแบบรูปแบบใหม่
ลักษณะการออกแบบข้ามวัฒนธรรม
ประวัติศาสตร์ศิลปะเครื่องประดับตะวันตกยุดก่อนประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์ศิลปะเครื่องประดับอารยธรรมโบราณ
ศิลปะเครื่องประดับอียิปต์ (Egypt)
ยุค Middle Kingdom หรือยุคอาณาจักรกลาง
ยุค New Kingdom หรือยุคอาณาจักรใหญ่
ศิลปะเครื่องประดับเมโสโปเตเมีย (Mesopotamia)
ศิลปะเครื่องประดับมิโนอัน - ไมซีเน (Minoan - Mycenae)
ศิลปะเครื่องประดับกรีก (Greek)
ศิลปะเครื่องประดับอีทรัสกัน (Etrucan)
ศิลปะเครื่องประดับเชลติก (Celtic)
ยุค Princes
ยุควัฒนธรรม La Tene
ยุคขยายอาณาจักร
ยุคอิทธิพลของนักรบ
ศิลปะเครื่องประดับโรมัน (Rome)
ศิลปะเครื่องประดับไบแซนไทน์ (Byzantine)
ประวัติศาสตร์ศิลปะเครื่องประดับตะวันตกยุคประวัติศาสตร์
ศิลปะเครื่องประดับช่วงยุคกลาง
ศิลปะเครื่องประดับโกธิค (Gothic)
ศิลปะเครื่องประดับสมัยเรอนาซองค์ (Renaissance)
ศิลปะเครื่องประดับแมนเนอริส (Mannerist)
นักออกแบบเครื่องประดับ Benvenuto Cellini
การออกแบบเครื่องประดับเชิงนามธรรม
ศิลปะเครื่องประดับสมัยอลิซาเบธที่ 1
ศิลปะเครื่องประดับบาร็อค (Baroque)
การประดิษฐ์ตกแต่ง
ศิลปะเครื่องประดับโรโคโค
ศิลปะเครื่องประดับนีโอคลาสสิค
ศิลปะเครื่องประดับคาเมโอ (Cameo)
ศิลปะเครื่องประดับนโปเลียนกับโจเซฟิน (Napoleon & Josephine)
ศิลปะเครื่องประดับแบบคัทสติล (Cut Steel)
ศิลปะเครื่องประดับแบบแชทเทิลเลน (Chatelaines)
ศิลปะเครื่องประดับสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19
ศิลปะเครื่องประดับอนุรักษ์นิยม
นักออกแบบเครื่องประดับ Fortunato Pio Castellani
นักออกแบบเครื่องประดับชื่อนาย Carlo Giuliano
นักออกแบบเครื่องประดับชื่อ Peter Carl Faberge
นักออกแบบเครื่องประดับชื่อ Eugene Fontenay
ศิลปะเครื่องประดับอาร์ตนูโว (Art Nouveau)
นักออกแบบเครื่องประดับชื่อ Rene Lalique
นักออกแบบเครื่องประดับชื่อ Charles Lewis Tiffany
ศิลปะเครื่องประดับวิคตอเรีย (Victoria)
ศิลปะเครื่องประดับสมัยใหม่
ศิลปะเครื่องประดับช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1
นักออกแบบเครื่องประดับ Fulco di Verdura
ศิลปะเครื่องประดับอาร์ตเดโค (Art Deco)
ศิลปะเครื่องประดับยุค 1920
ศิลปะเครื่องประดับยุค 1930
นักออกแบบเครื่องประดับเทียมชื่อ McClelland Barclay
ศิลปะเครื่องประดับยุค 1940
บริษัทที่ออกแบบเครื่องประดับเทียมชื่อ Trifari
บริษัทเครื่องประดับเทียมชื่อ Coro
บริษัทเครื่องประดับเทียมชื่อ Boucher
บริษัทเครื่องประดับเทียมชื่อ Haskell
บริษัทเครื่องประดับแท้ชื่อ Cartier
บริษัทเครื่องประดับแท้ชื่อ Van Cleep & Arpels
ศิลปะเครื่องประดับยุค 1950
นักออกแบบเครื่องประดับชื่อ Daniel Swarovski
บริษัทเครื่องประดับเทียมชื่อ Eisenberg
บริษัทเครื่องประดับเทียมชื่อ Hobe
ศิลปะเครื่องประดับยุค 1960
นักออกแบบเครื่องประดับชื่อ Bulgari
ศิลปะเครื่องประดับยุค 1970
ศิลปะเครื่องประดับยุค 1980
ศิลปะเครื่องประดับยุค 1990
ศิลปะเครื่องประดับหลังสมัยใหม่
ศิลปะเครื่องประดับมินิมอล (Minimalism)
ศิลปะเครื่องประดับเชิงศิลปะ
ศิลปะเครื่องประดับเชิงอุตสาหกรรม