ศิลปะ หัตถกรรม สถาปัตยกรรม ประติมากรรม สันทนาการ >>

ประวัติศาสตร์ศิลป์

ศิลปะเครื่องประดับอีทรัสกัน (Etrucan)

เป็นกลุ่มชนที่อยู่แถวบริเวณประเทศอิตาลี มีฝีมือในการรบและการผลิตอาวุธที่มีคุณภาพสูง จึงทำให้กลุ่มชนนี้มีความน่าเกรงขามทั้งๆ ที่เป็นกลุ่มชนที่มีขนาดเล็ก มีลักษณะทางวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ มีพลัง โดยมีเครื่องประดับจำนวนหลายชิ้นที่แสดงสีหน้า และแสดงถึงอารมณ์ เน้นความเป็นตัวของตัวเอง มีการเรียกเครื่องประดับที่มีลักษณะหน้ากากว่า phersu ซึ่งเป็นใบหน้าของเทพเจ้าอะคีลุสหรือเทพเจ้าแห่งสายน้ำ เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงความมั่งคั่ง ความหรูหรา โดยเครื่องประดับของชาวอิทรัสกันเป็นโลหะทองคำ เป็นรูปทรงแบบปิด มีแนวความคิดในการผลิตและออกแบบ 3 ประการร่วมกันคือ ความแตกต่างในการเชื่อมโลหะ การขึ้นรูปทรงภายนอก และการทำผิวหน้าหรือมีพื้นผิวที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดผลทางความรู้สึกและเกิดแสงที่ตกกระทบมายังเครื่องประดับที่แตกต่างกัน การผลิตเครื่องประดับของชาวอิทรัสกันมีกระบวนการตกแต่งที่เรียกว่า granulation มีลักษณะของการทำทองคำให้เป็นเม็ดขนาดเล็กกลม มาประดับตกแต่ง เป็นเทคนิคที่ชาวอิทรัสกันนิยมนำมาใช้ จนเกิดเป็นเอกลักษณ์ในการออกแบบเครื่องประดับได้

ทางด้านการร้อยเครื่องประดับของชาวอิทรัสกัน ได้นำเอกลักษณ์ของตนเองมาผสมกับศิลปะหลายชนชาติ เนื่องจากมีช่างฝีมือเทคนิคการทำเครื่องประดับที่สมบูรณ์แบบมากที่สุดชนชาติหนึ่ง โดยเฉพาะเทคนิค granulation ที่ชาวอิทรัสกันได้นิยมสร้างสรรค์ขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นผู้นำทางการเรือและการค้า เป็นผลให้ผลงานเครื่องประดับประเภทร้อยเกิดการผสมผสานร่วมกับรูปแบบอื่นๆ รูปแบบการร้อยเครื่องประดับที่มีอิทธิพลของชาวอิทรัสกันอย่างชัดเจน ได้แก่ ชนชาติโฟนีเซีย ทหารเรือชาวโฟนีเซียเป็นกลุ่มที่ค้นพบการเดินทางทางตอนใต้ของแอฟริกา ทั้งๆ ที่เป็นการสำรวจ แต่การทำการค้าหรือการทำมาหากินก็ยังคงเป็นพื้นฐาน มีการปลูกพืชเพื่อไว้แลกเปลี่ยนกับทองแดงของชาวไซพิออตและทองคำของแอฟริกา รวมทั้งหินมีค่า งาช้าง และสัตว์บางชนิด

ชาวโฟนีเซียได้ฝังสิ่งของไปพร้อมกับความตาย ฝังลงไปในหลุมฝังศพ จึงได้พบเข็มกลัดแก้วและเครื่องประดับจำนวนหนึ่งที่หลุมฝังศพ ส่วนชาวอิทรัสกันกำลังเข้าสู่ภายใต้จักรวรรดิของโรมัน กิจกรรมทางการค้าจึงเป็นการค้าเหล็ก ทองแดง สังกะสี และตะกั่ว ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการผลิตสิ่งของโลหะ มีวัตถุดิบเพื่อใช้ในการแลกเปลี่ยนผลิตภัณฑ์หรูหราที่ทำด้วยทองคำ โลหะเงินและงาช้างจากฝั่งตะวันออก ส่วนการทำการค้ากับเอเชียตะวันตกและกรีก ทำให้ชาวอิทรัสกันได้ติดต่อและมีอิทธิพลในลำดับต่อมา หลุมฝังศพของชาวอิทรัสกันจึงมีภาพวาดประกอบที่ชัดเจน จัดเป็นหลักฐานที่ดี มีผลไปยังเครื่องประดับของชาวอิทรัสกันที่เป็นหนึ่งของสิ่งของโบราณของโลกในลำดับต่อมา ลูกปัดของชาวอิทรัสกันเป็นที่รู้กันว่ามีเทคนิคที่สมบูรณ์แบบที่สุด เช่น เทคนิคการติดอำพันกับทองคำที่ให้ความสวยงานกับเครื่องประดับชั้นสูง ได้รับความพอใจเป็นอย่างมาก

 

ลักษณะต้นแบบโบราณ
ลักษณะการนำต้นแบบมาพัฒนาใหม่ หรือมาเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบ
ลักษณะการออกแบบรูปแบบใหม่
ลักษณะการออกแบบข้ามวัฒนธรรม
ประวัติศาสตร์ศิลปะเครื่องประดับตะวันตกยุดก่อนประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์ศิลปะเครื่องประดับอารยธรรมโบราณ
ศิลปะเครื่องประดับอียิปต์ (Egypt)
ยุค Middle Kingdom หรือยุคอาณาจักรกลาง
ยุค New Kingdom หรือยุคอาณาจักรใหญ่
ศิลปะเครื่องประดับเมโสโปเตเมีย (Mesopotamia)
ศิลปะเครื่องประดับมิโนอัน - ไมซีเน (Minoan - Mycenae)
ศิลปะเครื่องประดับกรีก (Greek)
ศิลปะเครื่องประดับอีทรัสกัน (Etrucan)
ศิลปะเครื่องประดับเชลติก (Celtic)
ยุค Princes
ยุควัฒนธรรม La Tene
ยุคขยายอาณาจักร
ยุคอิทธิพลของนักรบ
ศิลปะเครื่องประดับโรมัน (Rome)
ศิลปะเครื่องประดับไบแซนไทน์ (Byzantine)
ประวัติศาสตร์ศิลปะเครื่องประดับตะวันตกยุคประวัติศาสตร์
ศิลปะเครื่องประดับช่วงยุคกลาง
ศิลปะเครื่องประดับโกธิค (Gothic)
ศิลปะเครื่องประดับสมัยเรอนาซองค์ (Renaissance)
ศิลปะเครื่องประดับแมนเนอริส (Mannerist)
นักออกแบบเครื่องประดับ Benvenuto Cellini
การออกแบบเครื่องประดับเชิงนามธรรม
ศิลปะเครื่องประดับสมัยอลิซาเบธที่ 1
ศิลปะเครื่องประดับบาร็อค (Baroque)
การประดิษฐ์ตกแต่ง
ศิลปะเครื่องประดับโรโคโค
ศิลปะเครื่องประดับนีโอคลาสสิค
ศิลปะเครื่องประดับคาเมโอ (Cameo)
ศิลปะเครื่องประดับนโปเลียนกับโจเซฟิน (Napoleon & Josephine)
ศิลปะเครื่องประดับแบบคัทสติล (Cut Steel)
ศิลปะเครื่องประดับแบบแชทเทิลเลน (Chatelaines)
ศิลปะเครื่องประดับสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19
ศิลปะเครื่องประดับอนุรักษ์นิยม
นักออกแบบเครื่องประดับ Fortunato Pio Castellani
นักออกแบบเครื่องประดับชื่อนาย Carlo Giuliano
นักออกแบบเครื่องประดับชื่อ Peter Carl Faberge
นักออกแบบเครื่องประดับชื่อ Eugene Fontenay
ศิลปะเครื่องประดับอาร์ตนูโว (Art Nouveau)
นักออกแบบเครื่องประดับชื่อ Rene Lalique
นักออกแบบเครื่องประดับชื่อ Charles Lewis Tiffany
ศิลปะเครื่องประดับวิคตอเรีย (Victoria)
ศิลปะเครื่องประดับสมัยใหม่
ศิลปะเครื่องประดับช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1
นักออกแบบเครื่องประดับ Fulco di Verdura
ศิลปะเครื่องประดับอาร์ตเดโค (Art Deco)
ศิลปะเครื่องประดับยุค 1920
ศิลปะเครื่องประดับยุค 1930
นักออกแบบเครื่องประดับเทียมชื่อ McClelland Barclay
ศิลปะเครื่องประดับยุค 1940
บริษัทที่ออกแบบเครื่องประดับเทียมชื่อ Trifari
บริษัทเครื่องประดับเทียมชื่อ Coro
บริษัทเครื่องประดับเทียมชื่อ Boucher
บริษัทเครื่องประดับเทียมชื่อ Haskell
บริษัทเครื่องประดับแท้ชื่อ Cartier
บริษัทเครื่องประดับแท้ชื่อ Van Cleep & Arpels
ศิลปะเครื่องประดับยุค 1950
นักออกแบบเครื่องประดับชื่อ Daniel Swarovski
บริษัทเครื่องประดับเทียมชื่อ Eisenberg
บริษัทเครื่องประดับเทียมชื่อ Hobe
ศิลปะเครื่องประดับยุค 1960
นักออกแบบเครื่องประดับชื่อ Bulgari
ศิลปะเครื่องประดับยุค 1970
ศิลปะเครื่องประดับยุค 1980
ศิลปะเครื่องประดับยุค 1990
ศิลปะเครื่องประดับหลังสมัยใหม่
ศิลปะเครื่องประดับมินิมอล (Minimalism)
ศิลปะเครื่องประดับเชิงศิลปะ
ศิลปะเครื่องประดับเชิงอุตสาหกรรม

แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย

ข้อเขียน-บทความ »

» จินตนา แก้วขาว กราบเธอที่ดวงใจ
» ทะริด ตะนาวศรี คนไทยที่ถูกลืม
» ปู่เย็น ณ สะพานลำใย แห่งลุ่มแม่น้ำเพชรบุรี

» จอมยุทธ แห่งบ้านจอมยุทธ (รวมงานเขียน)
» ฉายเดี่ยว (รวมงานเขียน)
» งูเขียว หางบอบช้ำ (รวมงานเขียน)

» ตีหัวเข้าบ้าน ตะคอกโลก ตีหัวหมา
» ผายลมนี้มีผลย้อนหลัง
» ได้แต่หวังว่า เราจะอยู่ร่วมกันได้บนโลกที่เปรียบเสมือนบ้านของเราใบนี้ ด้วยความรู้สึกที่ดีประดุจดั่งกินข้าวจากหม้อเดียวกัน

» ขอเป็นตาแก่ขี้บ่นในหัวใจเธอ
» เมื่อคนขับรถปลอมตัวไปเล่นหุ้น (บันทึกการเล่นสด)

นิยาย-เรื่องสั้น »

» ตำนานบันลือโลก
» บันทึกทรราชย์
» ผมเกือบได้เป็นนักแต่งเพลงชื่อดังเสียแล้ว
» ชีวิตเริ่มต้นอีกครั้งหลังเกษียณ
» แสนยานุภาพแห่งการรอคอย