ศิลปะ หัตถกรรม สถาปัตยกรรม ประติมากรรม สันทนาการ >>

ประวัติศาสตร์ศิลป์

ศิลปะเครื่องประดับนีโอคลาสสิค

นีโอคลาสสิคอยู่ในช่วงยุคปฏิบัติฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 18 เมื่อปีค.ศ. 1789-1797 มีแนวความคิดในเชิงต่อด้านศิลปะแบบโรโคโคที่มีแต่ความฟุ้งเฟ้อ กลุ่มนักออกแบบนีโอคลาสสิคจึงเน้นทางด้านปรัชญาและการศึกษาความรู้ต่างๆ ในสมัยกรีกเป็นสำคัญ เพื่อนำมาเป็นแรงบันดาลใจในการคิดค้นหรือสร้างสรรค์ผลงานแบบใหม่ ๆ เป็นสมัยที่การเมืองมีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงสังคมเป็นอย่างมาก ทั้งทางด้านกฎหมาย การปกครอง และการดำรงชีวิตของผู้คน สิ่งของเครื่องใช้ถูกผลิตโดยเครื่องจักรที่ให้ทั้งความสะดวงรวดเร็วและผลิตได้ปริมาณมาก หรือเรียกว่า Mass Production หรือสินค้ามวลรวม โดยไม่คำนึงถึงความงามมากนัก

ทางด้านการออกแบบเครื่องประดับสมัยนีโอคลาสสิคมีแนวความคิดตามสังคมเช่นเดียวกัน มีความแตกต่างจากเครื่องประดับแบบโรโคโค เน้นการออกแบบเครื่องประดับแบบยุคคลาสสิคโบราณ โดยเฉพาะแบบกรีกและโรมัน ทั้งรูปทรงและรายละเอียดการออกแบบต่างๆ บุคคลที่มีบทบาทต่อการออกแบบเครื่องประดับในสมัยนี้คือ พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเครื่องประดับสมัยพระเจ้าหลุยส์ เนื่องจากพระองค์เป็นแกนหลักสำคัญในการออกแบบเครื่องประดับในรูปแบบนี้

เครื่องประดับสมัยพระเจ้าหลุยส์จึงมีการแบบยุคต่าง ๆ ได้ดังนี้

  • ยุค Louis Seize Period หรือเรียกว่ายุคหลุยส์ซีส์ อยู่ในช่วงปีค.ศ. 1770 เป็นต้นมา
  • ยุค Revolutionary Period หรือเรียนกว่ายุคปฏิบัติ อยู่ในช่วงปีค.ศ. 1789-1797
  • ยุค Empire Perido หรือเรียนกว่ายุคจักรพรรดิ อยู่ในช่วงปีค.ศ. 1800

ในช่วงต้นสมัยนีโอคลาสสิคเรียกเครื่องประดับพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 นี้ว่า Louis Seize เป็นรูปแบบที่รู้จักกันดีในช่วงก่อนเกิดการปฏิบัติประเทศฝรั่งเศส หรืออยู่ในช่วงปีค.ศ. 1785 การออกแบบเครื่องประดับในเบื้องต้นยังคงนำรูปแบบของโรโคโคมาเป็นต้นแบบ แต่มีการตกแต่งตัวรูปแบบคลาสสิคสมัยโบราณของกรีกเช่น การใช้ใบไม้มาผสมผสาน ผู้ที่เป็นผู้นำแฟชั่นในการออกแบบเครื่องประดับนี้คือ พระนางเจ้ามารีอังตัวเน็ตแห่งประเทศฝรั่งเศส

มาถึงในช่วงการปฏิวัติประเทศฝรั่งเศส เมื่อปีค.ศ. 1789-1797 มีความสับสนทางการเมืองและชีวิตความเป็นอยู่ของชาวฝรั่งเศสเป็นอันมาก เนื่องจากเกิดภาวะความแตกต่างทางฐานะค่อนข้างสูง เครื่องประดับในช่วงนี้จึงนิยมแสดงเป็นสื่อความหมายมากกว่าความงาม

การออกแบบเครื่องประดับในยุคนีโอคลาสสิคที่มีความสวยงามมาก อยู่ในช่วงปีค.ศ. 1800นำรูปแบบศิลปะของกรีกและโรมันมาเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบเครื่องประดับใหม่ที่ชัดเจนมากที่สุด เนื่องมาจากการที่คริสต์ศตวรรษที่ 18 นี้มีการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีเป็นอย่างมาก จัดเป็นยุคเฟื่องฟูทางด้านการพัฒนาเทคนิคการผลิตเครื่องประดับ ทั้งระบบอุตสาหกรรม และงานช่างฝีมือ ทำให้ ผู้คนมีความคิดริเริ่มใหม่ ๆ มีความต้องการในการศึกษาหาความรู้ โดยการเดินทางค้นหาสิ่งแปลกใหม่ ดินแดนใหม่ ความรู้ใหม่ และมีอิสรภาพสูง จึงเรียกกันคริสต์ศตวรรษนี้ว่า New World หรือช่วงแห่งการเริ่มต้นความสมัยใหม่ ความเป็นตัวของตัวเองตัวเองและความเป็นประชาธิปไตย จากการพัฒนาเครื่องจักรเทคโนโลยีและแร่ธาตุทางวิทยาศาสตร์ ทำให้เกิดนักอัญมณีศาสตร์เพื่อศึกษาแร่ธาตุต่างๆ เพื่อใช้เกี่ยวกับการทำเครื่องประดับขึ้น

จากการพัฒนานี้เอง ทำให้เกิดวงการ Costume Jewelry หรือ Paste jewelry หรือที่เรียกกันว่า เครื่องประดับเทียม สืบเนื่องมาจากการเกิดนักสะสมเรื่อยมาจากสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 17 จนทำให้นักสะสมมีมากเกินกว่าที่นักเครื่องประดับจะผลิตเครื่องประดับให้ทันต่อการตอบสนองได้ตามความต้องการ ดังนั้นในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 จึงเกิดปัญหาดังต่อไปนี้

จำนวนและความหายากของวัสดุมีค่า
วัสดุมีค่า ได้แก่ โลหะ อัญมณี หรืออินทรียมณีทั้งหลาย ล้วนเป็นแร่ธรรมชาติที่หายากมีไม่เพียงพอต่อความต้องการได้ ถึงแม้ว่ายุคนี้เป็นยุคของการเดินทาง การแสวงหาความรู้ใหม่ๆ แต่ยิ่งรู้มากความต้องการตามความรู้นั้นก็มีมากขึ้น

จากการเปลี่ยนแปลงสภาพทางสังคม
สังคมชนบทหรือสังคมที่เป็นครอบครัวเปลี่ยนมาเป็นสังคมอุตสาหกรรม ผู้คนต่างมีความต้องการเช่นเดียวกับชนชั้นสง ประกอบกับพ่อค้าที่ร่ำรวยจากการค้าขายมีมากขึ้น จึงมีกำลังทรัพย์สะสมสิ่งเหล่านี้ได้

ความเป็นสังคมเมือง
ผู้คนในสังคมเมืองยากจนมีปริมาณมากขึ้น จึงทำให้เกิดการโจรกรรม และฆาตกรรมมากขึ้น จึงนิยมเครื่องประดับเทียม เพราะด้วยความปลอดภัยต่อทรัพย์สินและชีวิต

นอกจากเป็นปัญหามีปัจจัยอื่นสนับสนุนสภาพดังกล่าว ซึ่งประกอบด้วย

เครื่องจักรอุตสาหกรรม
เครื่องจักรกลยุคนี้สามารถผลิตเครื่องปรับแบบ mass production ได้ดียิ่งขึ้น สะดวกขึ้น ซึ่งการหล่อโลหะในสมัยนี้ใช้เทคนิค Sand casting หรือการหล่อที่ใช้ทรายเป็นเบ้าหล่อ ทำให้การหล่อมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

เกิดการเลียนแบบเครื่องแต่งกายของผู้ที่มีชื่อเสียง การเลียนแบบจึงก่อให้เกิดแนวโน้มทางการออกแบบแฟชั่นเครื่องนุ่งห่มขึ้น เกิดสุนทรียภาพทางด้านศิลปะแขนงต่าง ๆ โดยเฉพาะสุนทรียภาพอย่างลึกซึ้งของหมู่ชนชั้นสูง เช่น ทางด้านวรรณกรรม จิตรกรรมรวมมาถึงการออกแบบเครื่องปรับแบบนี้โอคลาสสิค เป็นต้น

นักวิทยาศาสตร์จึงต้องทำงานหนักในการตอบสนองความต้องการสิ่งเหล่านี้ โดยการผลิตคิดค้นการลอกเลียนแบบ โดยเฉพาะอัญมณีหายาก จึงทำให้วงการเครื่องประดับแบ่งออกเป็น 2 สาย ได้แก่

สายเครื่องประดับแท้
สายเครื่องปรับแท้ มีการผลิตด้วยวัสดุจริงทุกประการ จึงมีการผลิตจำนวนไม่มาก มีราคาแพง มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบไม่บ่อยนักมีรูปแบบทั้งเชิงอุตสาหกรรมและแบบศิลปะโดยแท้

สายเครื่องประดับเทียม
ซึ่งผลิตตามรูปแบบที่เป็นที่นิยมของแต่ละกาลเวลา จึงมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบมาก แต่โดยมากนิยมผลิตลอกเลียนแบบรูปแบบเครื่องประดับจริงหรือเครื่องประดับแท้ เพื่อให้ได้ทั้งราคาในการร่วมสมัย และ ดูมีค่ามากขึ้น ผลิตด้วยวัสดุเทียมและหินหรือัญมณีที่หาง่าย มีราคาถูกผลิตได้ในปริมาณมากมีการใช้ตราสัญลักษณ์ hall mark โดยการแกะสลักลงบนคริสตัลด้วย

เมื่อสิ้นสุดคริสต์ศตวรรษที่ 18 พระนางเจ้ามารีอังตัวเน็ตได้มีอำนาจที่พระราชวังแวร์ซายน์ทำให้เครื่องประดับหลังจากนี้จึงมีลักษณะเพื่อความงามของธรรมชาติ เช่น รูปดอกไม้ โบว์ และมีการระบายภาพคนครึ่งตัว มีภาพทุ่งหญ้า แสดงถึงความงามแบบอมตะ จึงเกิดแหล่งผลิตเครื่องประดับและช่างฝีมือที่ยอดเยี่ยมทั้งหลายที่มีชื่อเสียงคือ Josiah Wedgwood และในช่วงสมัยนี้การแต่งกายของสตรีได้นำรูปทรง Decollete square-cut bodice เพื่อแสดงสร้อยคอและจี้ห้อยคอขนาดใหญ่ให้เป็นจุดเด่น

 

ลักษณะต้นแบบโบราณ
ลักษณะการนำต้นแบบมาพัฒนาใหม่ หรือมาเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบ
ลักษณะการออกแบบรูปแบบใหม่
ลักษณะการออกแบบข้ามวัฒนธรรม
ประวัติศาสตร์ศิลปะเครื่องประดับตะวันตกยุดก่อนประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์ศิลปะเครื่องประดับอารยธรรมโบราณ
ศิลปะเครื่องประดับอียิปต์ (Egypt)
ยุค Middle Kingdom หรือยุคอาณาจักรกลาง
ยุค New Kingdom หรือยุคอาณาจักรใหญ่
ศิลปะเครื่องประดับเมโสโปเตเมีย (Mesopotamia)
ศิลปะเครื่องประดับมิโนอัน - ไมซีเน (Minoan - Mycenae)
ศิลปะเครื่องประดับกรีก (Greek)
ศิลปะเครื่องประดับอีทรัสกัน (Etrucan)
ศิลปะเครื่องประดับเชลติก (Celtic)
ยุค Princes
ยุควัฒนธรรม La Tene
ยุคขยายอาณาจักร
ยุคอิทธิพลของนักรบ
ศิลปะเครื่องประดับโรมัน (Rome)
ศิลปะเครื่องประดับไบแซนไทน์ (Byzantine)
ประวัติศาสตร์ศิลปะเครื่องประดับตะวันตกยุคประวัติศาสตร์
ศิลปะเครื่องประดับช่วงยุคกลาง
ศิลปะเครื่องประดับโกธิค (Gothic)
ศิลปะเครื่องประดับสมัยเรอนาซองค์ (Renaissance)
ศิลปะเครื่องประดับแมนเนอริส (Mannerist)
นักออกแบบเครื่องประดับ Benvenuto Cellini
การออกแบบเครื่องประดับเชิงนามธรรม
ศิลปะเครื่องประดับสมัยอลิซาเบธที่ 1
ศิลปะเครื่องประดับบาร็อค (Baroque)
การประดิษฐ์ตกแต่ง
ศิลปะเครื่องประดับโรโคโค
ศิลปะเครื่องประดับนีโอคลาสสิค
ศิลปะเครื่องประดับคาเมโอ (Cameo)
ศิลปะเครื่องประดับนโปเลียนกับโจเซฟิน (Napoleon & Josephine)
ศิลปะเครื่องประดับแบบคัทสติล (Cut Steel)
ศิลปะเครื่องประดับแบบแชทเทิลเลน (Chatelaines)
ศิลปะเครื่องประดับสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19
ศิลปะเครื่องประดับอนุรักษ์นิยม
นักออกแบบเครื่องประดับ Fortunato Pio Castellani
นักออกแบบเครื่องประดับชื่อนาย Carlo Giuliano
นักออกแบบเครื่องประดับชื่อ Peter Carl Faberge
นักออกแบบเครื่องประดับชื่อ Eugene Fontenay
ศิลปะเครื่องประดับอาร์ตนูโว (Art Nouveau)
นักออกแบบเครื่องประดับชื่อ Rene Lalique
นักออกแบบเครื่องประดับชื่อ Charles Lewis Tiffany
ศิลปะเครื่องประดับวิคตอเรีย (Victoria)
ศิลปะเครื่องประดับสมัยใหม่
ศิลปะเครื่องประดับช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1
นักออกแบบเครื่องประดับ Fulco di Verdura
ศิลปะเครื่องประดับอาร์ตเดโค (Art Deco)
ศิลปะเครื่องประดับยุค 1920
ศิลปะเครื่องประดับยุค 1930
นักออกแบบเครื่องประดับเทียมชื่อ McClelland Barclay
ศิลปะเครื่องประดับยุค 1940
บริษัทที่ออกแบบเครื่องประดับเทียมชื่อ Trifari
บริษัทเครื่องประดับเทียมชื่อ Coro
บริษัทเครื่องประดับเทียมชื่อ Boucher
บริษัทเครื่องประดับเทียมชื่อ Haskell
บริษัทเครื่องประดับแท้ชื่อ Cartier
บริษัทเครื่องประดับแท้ชื่อ Van Cleep & Arpels
ศิลปะเครื่องประดับยุค 1950
นักออกแบบเครื่องประดับชื่อ Daniel Swarovski
บริษัทเครื่องประดับเทียมชื่อ Eisenberg
บริษัทเครื่องประดับเทียมชื่อ Hobe
ศิลปะเครื่องประดับยุค 1960
นักออกแบบเครื่องประดับชื่อ Bulgari
ศิลปะเครื่องประดับยุค 1970
ศิลปะเครื่องประดับยุค 1980
ศิลปะเครื่องประดับยุค 1990
ศิลปะเครื่องประดับหลังสมัยใหม่
ศิลปะเครื่องประดับมินิมอล (Minimalism)
ศิลปะเครื่องประดับเชิงศิลปะ
ศิลปะเครื่องประดับเชิงอุตสาหกรรม

แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย

ข้อเขียน-บทความ »

» จินตนา แก้วขาว กราบเธอที่ดวงใจ
» ทะริด ตะนาวศรี คนไทยที่ถูกลืม
» ปู่เย็น ณ สะพานลำใย แห่งลุ่มแม่น้ำเพชรบุรี

» จอมยุทธ แห่งบ้านจอมยุทธ (รวมงานเขียน)
» ฉายเดี่ยว (รวมงานเขียน)
» งูเขียว หางบอบช้ำ (รวมงานเขียน)

» ตีหัวเข้าบ้าน ตะคอกโลก ตีหัวหมา
» ผายลมนี้มีผลย้อนหลัง
» ได้แต่หวังว่า เราจะอยู่ร่วมกันได้บนโลกที่เปรียบเสมือนบ้านของเราใบนี้ ด้วยความรู้สึกที่ดีประดุจดั่งกินข้าวจากหม้อเดียวกัน

» ขอเป็นตาแก่ขี้บ่นในหัวใจเธอ
» เมื่อคนขับรถปลอมตัวไปเล่นหุ้น (บันทึกการเล่นสด)

นิยาย-เรื่องสั้น »

» ตำนานบันลือโลก
» บันทึกทรราชย์
» ผมเกือบได้เป็นนักแต่งเพลงชื่อดังเสียแล้ว
» ชีวิตเริ่มต้นอีกครั้งหลังเกษียณ
» แสนยานุภาพแห่งการรอคอย