ศิลปะ หัตถกรรม สถาปัตยกรรม ประติมากรรม สันทนาการ >>
ศิลปะเครื่องประดับวิคตอเรีย (Victoria)
ศิลปะเครื่องประดับสมัยวิคตอเรียได้ยึดช่วงสมัยของสมเด็จพระราชินีวิคตอเรียแห่งประเทศอังกฤษเป็นหลัก โดยอัตชีวประวัติของพระองค์ได้แบ่งออกเป็น 3 ช่วง ได้แก่
- อัตชีวประวัติของสมเด็จพระราชินีวิคตอเรีย
- ช่วงวิคตอเรียตอนต้น เมื่อปี ค.ศ.1837 ถึง 1860
- ช่วงกลางของสมัยวิคตอเรีย เมื่อปี ค.ศ.1860 ถึง1885
- ช่วงปลายสมัยวิคตอเรียและพระเจ้าเอ็ดเวิร์ด เมื่อปี ค.ศ.1885 ถึง 1910
- ช่วงวิคตอเรียตอนต้น
ช่วงวิคตอเรียตอนต้น
อยู่ในช่วงระหว่างปี ค.ศ.1837 ถึง 1860 หรือเรียกช่วงนี้อีกอย่างหนึ่งว่า ยุคโรแมนติก เป็นช่วงที่พระองค์ทรงพระเยาว์ ทรงได้ขึ้นครองราชย์เป็นพระราชินีแห่งอังกฤษและการมีความรักของพระองค์ ทำให้เครื่องประดับที่ปรากฏมีสีสันสดใส ประกอบกับอยู่ในช่วงที่ประเทศอังกฤษมีอำนาจและบารมี ดังนั้นในช่วงสมัยนี้เป็นช่วงที่ทรัพย์สินทั้งหลายมีอยู่เป็นจำนวนมาก
เครื่องประดับที่ปรากฏในช่วงนี้จัดเป็นช่วงต้นสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 จึงมีลักษณะการออกแบบที่อิงกับประวัติศาสตร์ค่อนข้างมาก เนื่องจากนักออกแบบในช่วงนี้ต่างมีแรงบันดาลใจจากประวัติศาสตร์ที่ขุดค้นพบ เช่น ช่วงยุคเรอนาซองค์ ยุคกลาง เป็นต้น ซึ่งสร้างกระแสการออกแบบแนวอนุรักษ์นิยมได้มาก แต่ถึงกระนั้นนักออกแบบเครื่องประดับที่ไม่อิงกับประวัติศาสตร์มากนักก็ได้ปรากฏเช่นกัน ผลงานเครื่องประดับที่ปรากฏจึงมีลักษณะสีสันสดใส แลดูอ่อนหวาน และมีความสวยงาม
ดังนั้นแนวทางในการออกแบบและการนำวัสดุมาใช้ในการออกแบบในช่วงต้นสมัยวิคตอเรียจึงนิยมรูปแบบกรีก โรมัน โกธิค ยุคกลาง นิยมใช้ไขมุกเป็นเมล็ดพวงองุ่น ใบไม้ต่างๆ และมีรูปทรงหัวใจ ส่วนวัสดุที่นิยมใช้ ได้แก่ ทองคำทุกสี แต่ยกเว้นสีขาว ทองคำม้วนไปตามรูปแบบนิยมการชุบทองช่วงหลังจากปี ค.ศ.1840 ส่วนอัญมณีที่นิยมใช้ ได้แก่ นิล เทอร์คอยส์ งาช้าง อลูมินัมนิยมหลังจากปี ค.ศ.1855
ช่วงกลางของสมัยวิคตอเรีย
ช่วงกลางของสมัยวิคตอเรีย เมื่อปี ค.ศ.1860 ถึง 1885 หรือเรียกช่วงนี้อีกอย่างหนึ่งว่า ยุคแห่งความสง่างาม เนื่องจากในยุคจี้พระองค์ทรงมีพระราชอำนาจเต็มที่ สุภาพสตรีในช่วงนี้มีความเข้มแข็งและเปลี่ยนทัศนคติในการดำเนินชีวิตอย่างสิ้นเชิง เหล่าสุภาพสตรีต้องมีอาชีพ ต้องแข่งขันร่วมกับผู้ชายและมีความต้องการการยอมรับนับถือมากขึ้น ดังนั้นการออกแบบเครื่องประดับในยุคนี้จึงนิยมรูปแบบเครื่องประดับแบบอิทรัสกัน เนื่องจากมีการออกแบบที่ดูเข้มแข็ง สง่างามน่าเชื่อถือ ซึ่งต่างจากช่วงแรกที่ดูอ่อนหวานมากกว่า ดังนั้นแนวการออกแบบจึงนิยมรูปหัวใจรูปแบบเครื่องประดับอิทรัสกัน ชื่อชอบการภาพถ่าย ชอบรูปแบบระฆัง ช่อดอกไม้หรือเป็นพู่ห้อยแมลงต่าง งู ส่วนวัสดุที่ใช้ในการผลิต ไดแก่ แมลงปีกแข็ง อำพัน ส่วนอัญมณีและโลหะยังคงนิยมเช่นเดียวกันกับสมัยวิคตอเรียตอนต้น
ปลายสมัยวิคตอเรียและพระเจ้าเอ็ดเวิร์ด
มาถึงช่วงปลายสมัยวิคตอเรียและพระเจ้าเอ็ดเวิร์ด เมื่อปี ค.ศ.1885 ถึง 1910 เรียกว่าช่วงนี้อีกอย่างว่า ยุคแห่งสุนทรียศาสตร์ เนื่องจากเป็นช่วงที่ชาวอังกฤษมีความซาบซึ้งหรือหลงใหลในงานศิลปกรรมเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะผลงานทางด้านจิตรกรรม ซึ่งศิลปะเข้าสู่ช่วงสมัยพรีราฟาเอลไลท์ (Pre-Raphaelite) การสวมใส่เครื่องประดับจึงแตกต่างจากช่วงกลางสมัย เนื่องจากสุภาพสตรีทั้งหลายเริ่มมีความมั่นมากขึ้น จึงใส่เครื่องประดับจำนวนน้อยชิ้น นิยมสวมกลางวัน มีการออกแบบเครื่องประดับที่เรียบง่ายขึ้น แต่เพชรเป็นอัญมณีที่นิยมมาก ผลงานการออกแบบเครื่องประดับจึงนำเพชรมาเป็นองค์ประกอบที่สำคัญจำนวนมาก
เมื่อมาถึงช่วงปลายสมัยของพระองค์หรือช่วงที่พระเอ็ดเวิร์ดเสด็จสวรรคตแล้ว เครื่องประดับต่างๆ ล้วนมีลักษณะเรียบง่าย เนื่องจากสมเด็จพระราชินีวิคตอเรียทรงชุดแต่งองค์ไว้ทุกข์ตลอดจนเสด็จสวรรคต เครื่องประดับจึงเต็มไปด้วยสีเข้มดำเป็นส่วนมาก นิล จึงเป็นวัสดุหายากในช่วงนี้ การออกแบบจึงมีแต่สัญลักษณ์แห่งความเงียบสงบ นิ่ง แต่ก็แฝงความเข้มแข็งและความหวังอยู่เสมอ ดังนั้นแนวการออกแบบจึงนิยมดวงจันทร์ครึ่งซีก และดวงดาว ไม้กางเขน หัวใจทั้งรูปแบบดวงเดียวและสองดวง นก ดอกไม้ เกือกม้า และสัญลักษณ์อื่นๆ ที่แสดงถึงความโชคดี พระจันทร์และนักฮูก ชายบนดวงจันทร์ กีฬา แมลงต่างๆ ส่วนโลหะที่นิยมใช้ในการผลิตช่วงนี้ ได้แก่ ทองคำ ซึ่งมีการผสมสีต่างๆ แพทตินัม เงิน ทองแดง
ลักษณะต้นแบบโบราณ
ลักษณะการนำต้นแบบมาพัฒนาใหม่ หรือมาเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบ
ลักษณะการออกแบบรูปแบบใหม่
ลักษณะการออกแบบข้ามวัฒนธรรม
ประวัติศาสตร์ศิลปะเครื่องประดับตะวันตกยุดก่อนประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์ศิลปะเครื่องประดับอารยธรรมโบราณ
ศิลปะเครื่องประดับอียิปต์ (Egypt)
ยุค Middle Kingdom หรือยุคอาณาจักรกลาง
ยุค New Kingdom หรือยุคอาณาจักรใหญ่
ศิลปะเครื่องประดับเมโสโปเตเมีย (Mesopotamia)
ศิลปะเครื่องประดับมิโนอัน - ไมซีเน (Minoan - Mycenae)
ศิลปะเครื่องประดับกรีก (Greek)
ศิลปะเครื่องประดับอีทรัสกัน (Etrucan)
ศิลปะเครื่องประดับเชลติก (Celtic)
ยุค Princes
ยุควัฒนธรรม La Tene
ยุคขยายอาณาจักร
ยุคอิทธิพลของนักรบ
ศิลปะเครื่องประดับโรมัน (Rome)
ศิลปะเครื่องประดับไบแซนไทน์ (Byzantine)
ประวัติศาสตร์ศิลปะเครื่องประดับตะวันตกยุคประวัติศาสตร์
ศิลปะเครื่องประดับช่วงยุคกลาง
ศิลปะเครื่องประดับโกธิค (Gothic)
ศิลปะเครื่องประดับสมัยเรอนาซองค์ (Renaissance)
ศิลปะเครื่องประดับแมนเนอริส (Mannerist)
นักออกแบบเครื่องประดับ Benvenuto Cellini
การออกแบบเครื่องประดับเชิงนามธรรม
ศิลปะเครื่องประดับสมัยอลิซาเบธที่ 1
ศิลปะเครื่องประดับบาร็อค (Baroque)
การประดิษฐ์ตกแต่ง
ศิลปะเครื่องประดับโรโคโค
ศิลปะเครื่องประดับนีโอคลาสสิค
ศิลปะเครื่องประดับคาเมโอ (Cameo)
ศิลปะเครื่องประดับนโปเลียนกับโจเซฟิน (Napoleon & Josephine)
ศิลปะเครื่องประดับแบบคัทสติล (Cut Steel)
ศิลปะเครื่องประดับแบบแชทเทิลเลน (Chatelaines)
ศิลปะเครื่องประดับสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19
ศิลปะเครื่องประดับอนุรักษ์นิยม
นักออกแบบเครื่องประดับ Fortunato Pio Castellani
นักออกแบบเครื่องประดับชื่อนาย Carlo Giuliano
นักออกแบบเครื่องประดับชื่อ Peter Carl Faberge
นักออกแบบเครื่องประดับชื่อ Eugene Fontenay
ศิลปะเครื่องประดับอาร์ตนูโว (Art Nouveau)
นักออกแบบเครื่องประดับชื่อ Rene Lalique
นักออกแบบเครื่องประดับชื่อ Charles Lewis Tiffany
ศิลปะเครื่องประดับวิคตอเรีย (Victoria)
ศิลปะเครื่องประดับสมัยใหม่
ศิลปะเครื่องประดับช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1
นักออกแบบเครื่องประดับ Fulco di Verdura
ศิลปะเครื่องประดับอาร์ตเดโค (Art Deco)
ศิลปะเครื่องประดับยุค 1920
ศิลปะเครื่องประดับยุค 1930
นักออกแบบเครื่องประดับเทียมชื่อ McClelland Barclay
ศิลปะเครื่องประดับยุค 1940
บริษัทที่ออกแบบเครื่องประดับเทียมชื่อ Trifari
บริษัทเครื่องประดับเทียมชื่อ Coro
บริษัทเครื่องประดับเทียมชื่อ Boucher
บริษัทเครื่องประดับเทียมชื่อ Haskell
บริษัทเครื่องประดับแท้ชื่อ Cartier
บริษัทเครื่องประดับแท้ชื่อ Van Cleep & Arpels
ศิลปะเครื่องประดับยุค 1950
นักออกแบบเครื่องประดับชื่อ Daniel Swarovski
บริษัทเครื่องประดับเทียมชื่อ Eisenberg
บริษัทเครื่องประดับเทียมชื่อ Hobe
ศิลปะเครื่องประดับยุค 1960
นักออกแบบเครื่องประดับชื่อ Bulgari
ศิลปะเครื่องประดับยุค 1970
ศิลปะเครื่องประดับยุค 1980
ศิลปะเครื่องประดับยุค 1990
ศิลปะเครื่องประดับหลังสมัยใหม่
ศิลปะเครื่องประดับมินิมอล (Minimalism)
ศิลปะเครื่องประดับเชิงศิลปะ
ศิลปะเครื่องประดับเชิงอุตสาหกรรม