ศิลปะ หัตถกรรม สถาปัตยกรรม ประติมากรรม สันทนาการ >>

ประวัติศาสตร์ศิลป์

ศิลปะเครื่องประดับมิโนอัน - ไมซีเน (Minoan - Mycenae)

ศิลปะของชาวมิโนอันอยู่ในช่วง 3,000-1,100 ปีก่อนคริสตศักราช ได้เข้าครองเกาะครีดมายาวนาน มีการพัฒนาทางด้านศิลปะเป็นอย่างดี จนมาถึงช่วง 1,600-1,100 ปีก่อนคริสตศักราชหลังจากเกิดภัยธรรมาติอย่างรุนแรงเมื่อประมาณ 1,450 ปีก่อนคริสตสักราช ทำให้เกาะครีตถูกทำลายลงไปมาก และชาวไมซีเนจึงขยายตนเองไปทั่วเกาะครีต ทำให้อิทธิพลของชาวไมซีเนอยู่ทั่วประเทศเป็นจำนวนมาก รวมทั้งการสวมใส่เครื่องประดับด้วยเช่นกัน

ศิลปะเครื่องประดับของไมซีเน จึงได้เป็นสัญลักษณ์ของวัฒนธรรมชาวยุโรปอีกวัฒนธรรมหนึ่ง เนื่องจากผลงานการทำทองของชาวไมซีเนเป็นที่เลื่องลือ มีการทำแผ่นทองคำได้บางและสวยงาม มีเรื่องราวที่น่าสนใจ

เกาะครีตมีเครื่องประดับของชาวมิโนอันเป็นจำนวนมาก มีการทำลวดลายที่เป็นเส้น ซึ่งเป็นเทคนิคเบื้องต้นจากเอเชียตะวันตกไปยังเกาะครีตเมื่อ 2,000 ปีก่อนคริสตศักราช โดยเมื่อ 1,700 ปีก่อนคริสตศักราชวิธีการทั้งหมดนี้เป็นผลงานชิ้นโบแดงและมีผลต่อการพัฒนารสนิยมของชาวมิโนอัน และมีแรงบันดาลใจจากรูปทรงของพืช สัตว์ และความสวยงามของทะเล ซึ่งทำให้ศิลปะของชาวมิโนอันเป็นตันฉบับขึ้นมาได้ หลังจากได้มีชาวไมซีเนอยู่ร่วมกันที่เกาะครีต ทำให้ผลงานการสร้างสรรค์เครื่องประดับได้มีการผสมผสานกัน แต่ยังคงมีรูปแบบที่เรียบง่าย แสดงถึงความแข็งแรงค่อนข้างสูง

ในช่วงตกต่ำของเมือง Knossos ซึ่งเป็นเมืองหลวงของเกาะครีตเมื่อประมาณ 1,400 ปีก่อนคริสตศักราช ศูนย์กลางวัฒนธรรมของชาวมิโนอันได้ย้ายไปอยู่ที่ไมซีเน มีการผลิตจี้ห้อยคอในรูปแบบที่เรียกว่า Relief หรือการตัดทอน เป็นเครื่องประดับที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะในการตกแต่งขอชาวมิโนอัน-ไมซีเน มากที่สุด มีรูปแบบขั้นต้นที่ได้ตัดทอนหินแข็งและพืชสด ตีตราด้วยแผ่นทองคำ มีการตกแต่งเพิ่มด้วยการเคลือบ มีการทำต้นแบบหิน มีการทำแก้วให้เป็นสีฟ้าเข้ม มีการทำเลาปิสสาซูลี่เทียมได้ดี แก้วเป็นของหายากมากขึ้นเนื่องจากเป็นวัสดุให้เกิดสารพิษ แต่ถึงกระนั้นเมื่อมาถึงช่วง 1,150 ปีก่อนคริสตศักราช แก้วยิ่งเป็นที่นิยมมากจนทำให้ทองคำลดคุณค่าลง

ชาวไมซีเนนิยมสวมใส่เครื่องประดับขนาดใหญ่ ทำมาจากวัสดุที่หลากหลาย ผู้มีอิทธิพลของการค้าเครื่องประดับคือทหารเรือกับผู้ค้าขาย แต่อำพันได้เป็นวัสดุที่นิยมมากที่สุด โดยปรากฏที่หลุมศพของชาวไมซีระหว่างดินแดนบอลติกซึ่งเป็นแหล่งอำพัน และจัดเป็นเส้นทางของอำพันข้ามยุโรปจากบอลติกไปยังทางตอนเหนือถึงทะเลเลอะเดียกติก ได้มีการล่องเรือไปทางตอนใต้และพบลูกปัดอำพันที่มีคุณภาพเยี่ยม ได้ล่องไปถึงตะวันตกผ่านไปจนถึงสเปน อังกฤษ ตอนใต้ของฝรั่งเศสและฮังการี นอกจากนี้ยังพบเครื่องประดับจากชาวไซรัส ซึ่งมีส่วนผสมของรายละเอียดระหว่างชาวมิโนอัน-ไมซีเน ชาวไซรัส และชาวอียิปต์อีกต่อหนึ่งด้วย เนื่องจากดินแดนของชาวไซรัสเป็นเส้นทางอย่างละครึ่งทางการค้าทางเรือระหว่างประเทศของเอเชียตะวันตก

นอกจากโลหะมีค่าและหินกึ่งค่าในการนำมาทำเป็นเครื่องประดับต่างๆ แล้ว ยังมีการพบโรงงานสังกะสี ทองแดงที่ผสมดีบุกเมื่อ 3,000 ปีก่อนคริสตศักราชในดินแดนแห่งนี้อีกด้วย เนื่องจากการค้าได้เริ่มต้นอย่างสดใส มีการผลิตอาวุธและเครื่องมือด้วยโลหะ คุณภาพดีมาก จึงได้มีการผลิตลูกปัดทองแดงขึ้นมาด้วยเช่นกัน

 

ลักษณะต้นแบบโบราณ
ลักษณะการนำต้นแบบมาพัฒนาใหม่ หรือมาเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบ
ลักษณะการออกแบบรูปแบบใหม่
ลักษณะการออกแบบข้ามวัฒนธรรม
ประวัติศาสตร์ศิลปะเครื่องประดับตะวันตกยุดก่อนประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์ศิลปะเครื่องประดับอารยธรรมโบราณ
ศิลปะเครื่องประดับอียิปต์ (Egypt)
ยุค Middle Kingdom หรือยุคอาณาจักรกลาง
ยุค New Kingdom หรือยุคอาณาจักรใหญ่
ศิลปะเครื่องประดับเมโสโปเตเมีย (Mesopotamia)
ศิลปะเครื่องประดับมิโนอัน - ไมซีเน (Minoan - Mycenae)
ศิลปะเครื่องประดับกรีก (Greek)
ศิลปะเครื่องประดับอีทรัสกัน (Etrucan)
ศิลปะเครื่องประดับเชลติก (Celtic)
ยุค Princes
ยุควัฒนธรรม La Tene
ยุคขยายอาณาจักร
ยุคอิทธิพลของนักรบ
ศิลปะเครื่องประดับโรมัน (Rome)
ศิลปะเครื่องประดับไบแซนไทน์ (Byzantine)
ประวัติศาสตร์ศิลปะเครื่องประดับตะวันตกยุคประวัติศาสตร์
ศิลปะเครื่องประดับช่วงยุคกลาง
ศิลปะเครื่องประดับโกธิค (Gothic)
ศิลปะเครื่องประดับสมัยเรอนาซองค์ (Renaissance)
ศิลปะเครื่องประดับแมนเนอริส (Mannerist)
นักออกแบบเครื่องประดับ Benvenuto Cellini
การออกแบบเครื่องประดับเชิงนามธรรม
ศิลปะเครื่องประดับสมัยอลิซาเบธที่ 1
ศิลปะเครื่องประดับบาร็อค (Baroque)
การประดิษฐ์ตกแต่ง
ศิลปะเครื่องประดับโรโคโค
ศิลปะเครื่องประดับนีโอคลาสสิค
ศิลปะเครื่องประดับคาเมโอ (Cameo)
ศิลปะเครื่องประดับนโปเลียนกับโจเซฟิน (Napoleon & Josephine)
ศิลปะเครื่องประดับแบบคัทสติล (Cut Steel)
ศิลปะเครื่องประดับแบบแชทเทิลเลน (Chatelaines)
ศิลปะเครื่องประดับสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19
ศิลปะเครื่องประดับอนุรักษ์นิยม
นักออกแบบเครื่องประดับ Fortunato Pio Castellani
นักออกแบบเครื่องประดับชื่อนาย Carlo Giuliano
นักออกแบบเครื่องประดับชื่อ Peter Carl Faberge
นักออกแบบเครื่องประดับชื่อ Eugene Fontenay
ศิลปะเครื่องประดับอาร์ตนูโว (Art Nouveau)
นักออกแบบเครื่องประดับชื่อ Rene Lalique
นักออกแบบเครื่องประดับชื่อ Charles Lewis Tiffany
ศิลปะเครื่องประดับวิคตอเรีย (Victoria)
ศิลปะเครื่องประดับสมัยใหม่
ศิลปะเครื่องประดับช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1
นักออกแบบเครื่องประดับ Fulco di Verdura
ศิลปะเครื่องประดับอาร์ตเดโค (Art Deco)
ศิลปะเครื่องประดับยุค 1920
ศิลปะเครื่องประดับยุค 1930
นักออกแบบเครื่องประดับเทียมชื่อ McClelland Barclay
ศิลปะเครื่องประดับยุค 1940
บริษัทที่ออกแบบเครื่องประดับเทียมชื่อ Trifari
บริษัทเครื่องประดับเทียมชื่อ Coro
บริษัทเครื่องประดับเทียมชื่อ Boucher
บริษัทเครื่องประดับเทียมชื่อ Haskell
บริษัทเครื่องประดับแท้ชื่อ Cartier
บริษัทเครื่องประดับแท้ชื่อ Van Cleep & Arpels
ศิลปะเครื่องประดับยุค 1950
นักออกแบบเครื่องประดับชื่อ Daniel Swarovski
บริษัทเครื่องประดับเทียมชื่อ Eisenberg
บริษัทเครื่องประดับเทียมชื่อ Hobe
ศิลปะเครื่องประดับยุค 1960
นักออกแบบเครื่องประดับชื่อ Bulgari
ศิลปะเครื่องประดับยุค 1970
ศิลปะเครื่องประดับยุค 1980
ศิลปะเครื่องประดับยุค 1990
ศิลปะเครื่องประดับหลังสมัยใหม่
ศิลปะเครื่องประดับมินิมอล (Minimalism)
ศิลปะเครื่องประดับเชิงศิลปะ
ศิลปะเครื่องประดับเชิงอุตสาหกรรม

แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย

ข้อเขียน-บทความ »

» จินตนา แก้วขาว กราบเธอที่ดวงใจ
» ทะริด ตะนาวศรี คนไทยที่ถูกลืม
» ปู่เย็น ณ สะพานลำใย แห่งลุ่มแม่น้ำเพชรบุรี

» จอมยุทธ แห่งบ้านจอมยุทธ (รวมงานเขียน)
» ฉายเดี่ยว (รวมงานเขียน)
» งูเขียว หางบอบช้ำ (รวมงานเขียน)

» ตีหัวเข้าบ้าน ตะคอกโลก ตีหัวหมา
» ผายลมนี้มีผลย้อนหลัง
» ได้แต่หวังว่า เราจะอยู่ร่วมกันได้บนโลกที่เปรียบเสมือนบ้านของเราใบนี้ ด้วยความรู้สึกที่ดีประดุจดั่งกินข้าวจากหม้อเดียวกัน

» ขอเป็นตาแก่ขี้บ่นในหัวใจเธอ
» เมื่อคนขับรถปลอมตัวไปเล่นหุ้น (บันทึกการเล่นสด)

นิยาย-เรื่องสั้น »

» ตำนานบันลือโลก
» บันทึกทรราชย์
» ผมเกือบได้เป็นนักแต่งเพลงชื่อดังเสียแล้ว
» ชีวิตเริ่มต้นอีกครั้งหลังเกษียณ
» แสนยานุภาพแห่งการรอคอย