ศิลปะ หัตถกรรม สถาปัตยกรรม ประติมากรรม สันทนาการ >>
ศิลปะเครื่องประดับไบแซนไทน์ (Byzantine)
ศิลปะของไบแซนไทน์เป็นอีกสมัยหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการออกแบบเครื่องประดับ ทั้งการศึกษารูปแบบไปจนถึงอิทธิพลที่มีต่อการออกแบบเครื่องประดับมาหลายยุคสมัย เนื่องจากมีลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ซึ่งพบเห็นเป็นจำนวนมากของเครื่องประดับราคาสูงหรือเครื่องประดับของหมู่ชนชั้นสูง ดังนั้นความเป็นมาของสมัยไบแซนไทน์จึงมีดังนี้
อาณาจักรไบแซนไทน์ปรากฏเมื่อปี ค.ศ.330 ถึงปี ค.ศ.1453 อยู่ทางตะวันออกของยุโรป โดยมีประวัติศาสตร์การสู้รบเป็นส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นการทำสงครามระหว่างชาวเปอร์เซีย อาหรับออตโตมันเติร์ก สงครามครูเสส โดยเฉพาะสงครามครูเสสที่พยายามยึดกรุงคอนสแตนติโนเปิลจนได้ดินแดนไปส่วนหนึ่ง สุดท้ายเมื่อปี ค.ศ.1453 ชาวออตโตมันเติร์กได้ยึดกรุงคอนสแตนติโนเปิลได้ในที่สุด เป็นอันสิ้นสุดสมัยอาณาจักรของศิลปะไบแซนไทน์
เครื่องประดับไบแซนไทน์ที่พบนั้น พบในยุคของสมัยพระจักรพรรดิคอนสแตนไทน์ที่ 1 เมื่อประมาณ 337 ปีก่อนคริสตศักราช หลังจากได้ย้ายเมืองหลวงจากโรมมายังเมืองคอนสแตนติโนเปิล และได้ตั้งตนเป็นจักรพรรดิ์ในอาณาจักรทั้งทางตะวันออกและทางตะวันตกอย่างยิ่งใหญ่ กรุงคอนสแตนติโนเปิลมีการเติบโตขึ้นโดยมีนโยบาย มีวัฒนธรรม และมีศูนย์กลางของศาสนา ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของวัฒนธรรมระดับนานาชาติ
เมืองคอนสแตนติโนเปิลเป็นศูนย์กลางทางด้านการค้าและการรวมตัวของศิลปินเป็นจำนวนมาก พระจักรพรรดิ์ไบแซนไทน์จึงออกนโยบายและทำการค้าระดับนานาชาติ โดยให้ออกเรือของทหารไปยังเมืองคอนเวล ประเทศอังกฤษ เพื่อแลกเปลี่ยนเหรียญทองคำที่สวยงาม ต่อมาเมื่อถึงช่วง 483 ถึง 565 ปีก่อนคริสตศักราช ได้ค้นพบเส้นทางที่มีระยะทางไกลขึ้น ได้แก่ ประเทศสวีเดน จีน ซึ่งมีทองคำ การ์เน็ต ทับทิม มรกต แซฟไฟน์ ไข่มุกและงาช้างเป็นจำนวนมาก ได้เข้าไปยังคอนสแตนติโนเปิล นอกจากนี้วัตถุอันมีค่าอื่นๆ ยังได้มาจากอินเดีย พม่า ตอนใต้ของรัสเซียและแอฟริกาด้วย ความหรูหราของเครื่องประดับของกรุงคอนสแตนติโนเปิลนั้นมีชื่อเสียงระดับโลก พระจักรพรรดิ์ไบแซนไทน์มีมรดกตกทอดกันมา มีการพัฒนาทางด้านทักษะของศิลปิน ซึ่งมีอยู่มากมายในกรุงคอนสแตนติโนเปิล โดยได้รับการสนับสนุนหรือมีการอุปถัมป์อย่างดีเยี่ยมจากผู้ที่มีฐานะอันมั่นคั่ง
ดังนั้นศิลปะและเครื่องประดับในยุคนี้ทำให้เกิดการออกแบบสองรูปแบบหลักๆ ได้แก่ประการแรก เป็นพื้นฐานของรูปแบบกรีกและโรมันแบบคลาสสิค ซึ่งดูมีระเบียบ ประกาที่สอง มีความเป็นนามธรรมมากกว่า เพราะได้เสนอรูปแบบเป็นสองมิติของเอเชียตะวันตกและตะวันออกไกล จนเป็นรูปแบบที่สมบูรณ์แบบที่สุด โดยเฉพาะในช่วงศตวรรษที่หกซึ่งมีการแต่งกายของไบแซนไทน์ดูหรูหรามาก มีสีสันและผสมผสานรายละเอียดทั้งแบบเปอร์เซีย และแบบกรีกสมัยเฮเลนนิสติก
การออกแบบเครื่องประดับที่เป็นจุดเด่นที่สุดคือ การออกแบบเครื่องประดับแบบโมเสส โมเสสเป็นแหล่งสำคัญของข้อมูลทางประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะเครื่องประดับที่นำไปฝังที่หลุมฝังศพที่อยู่ตามโบสถ์ นอกจากนี้เครื่องประดับชั้นสูงเป็นเครื่องประดับที่งดงามมาก ไม่ว่าเป็นมงกุฎของพระจักรพรรดิ เป็นสัญลักษณ์ของความสง่าของเครื่องประดับไบแซนไทน์มากที่สุด เครื่องประดับแหวนทำมาจากแซฟไฟน์ และแอมิทิสเจียนะไนรูปทรงเบี้ยหลังเต่า โดยมีทองคำล้อมรอบกับเจียระไนมรกตแบบธรรมชาติ นอกจากนี้ยังมีคริสตัลและไข่มุก จี้ห้อยคอ ประดับลวดลายเส้นเป็นเทคนิคของชาวโรมันสำหรับการฝึกหัด มีเทคนิคใหม่ๆ เรียกว่า Opus interrasile เป็นการตัดโลหะเป็นแผ่นบางๆ ทำให้เครื่องประดับมีแพทเทิร์นแบบปลายเปิดได้
ในช่วงต้นของจักรพรรดิคอนสแตนไทน์ได้เกี่ยวข้องกันกับชาวคริสเตียน ทำให้เกิดการสร้างสัญลักษณ์ทางศาสนาขึ้น มีสร้อยคอเหมือนเครื่องราง เมื่อยุคโบราณคลาสสิคได้สิ้นสุดลง จึงเกิดทัศนคติของศาสนาใหม่ โดยการสวมใส่เครื่องประดับเพื่อเตือนว่าควรมีความรัก หินไม่มีค่า แต่สามารถสักการบูชาได้ ชาวไบแซนไทน์จึงสวมเครื่องประดับที่เป็นสัญลักษณ์ของชาวคริสเตียนต่อไป อย่างมิได้ละทิ้งคำสอน จึงได้ปรากฎวัสดุที่ให้ความรู้สึกที่มากถึงวิญญาณมากกว่าคุณค่าทางวัตถุ
ลักษณะต้นแบบโบราณ
ลักษณะการนำต้นแบบมาพัฒนาใหม่ หรือมาเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบ
ลักษณะการออกแบบรูปแบบใหม่
ลักษณะการออกแบบข้ามวัฒนธรรม
ประวัติศาสตร์ศิลปะเครื่องประดับตะวันตกยุดก่อนประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์ศิลปะเครื่องประดับอารยธรรมโบราณ
ศิลปะเครื่องประดับอียิปต์ (Egypt)
ยุค Middle Kingdom หรือยุคอาณาจักรกลาง
ยุค New Kingdom หรือยุคอาณาจักรใหญ่
ศิลปะเครื่องประดับเมโสโปเตเมีย (Mesopotamia)
ศิลปะเครื่องประดับมิโนอัน - ไมซีเน (Minoan - Mycenae)
ศิลปะเครื่องประดับกรีก (Greek)
ศิลปะเครื่องประดับอีทรัสกัน (Etrucan)
ศิลปะเครื่องประดับเชลติก (Celtic)
ยุค Princes
ยุควัฒนธรรม La Tene
ยุคขยายอาณาจักร
ยุคอิทธิพลของนักรบ
ศิลปะเครื่องประดับโรมัน (Rome)
ศิลปะเครื่องประดับไบแซนไทน์ (Byzantine)
ประวัติศาสตร์ศิลปะเครื่องประดับตะวันตกยุคประวัติศาสตร์
ศิลปะเครื่องประดับช่วงยุคกลาง
ศิลปะเครื่องประดับโกธิค (Gothic)
ศิลปะเครื่องประดับสมัยเรอนาซองค์ (Renaissance)
ศิลปะเครื่องประดับแมนเนอริส (Mannerist)
นักออกแบบเครื่องประดับ Benvenuto Cellini
การออกแบบเครื่องประดับเชิงนามธรรม
ศิลปะเครื่องประดับสมัยอลิซาเบธที่ 1
ศิลปะเครื่องประดับบาร็อค (Baroque)
การประดิษฐ์ตกแต่ง
ศิลปะเครื่องประดับโรโคโค
ศิลปะเครื่องประดับนีโอคลาสสิค
ศิลปะเครื่องประดับคาเมโอ (Cameo)
ศิลปะเครื่องประดับนโปเลียนกับโจเซฟิน (Napoleon & Josephine)
ศิลปะเครื่องประดับแบบคัทสติล (Cut Steel)
ศิลปะเครื่องประดับแบบแชทเทิลเลน (Chatelaines)
ศิลปะเครื่องประดับสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19
ศิลปะเครื่องประดับอนุรักษ์นิยม
นักออกแบบเครื่องประดับ Fortunato Pio Castellani
นักออกแบบเครื่องประดับชื่อนาย Carlo Giuliano
นักออกแบบเครื่องประดับชื่อ Peter Carl Faberge
นักออกแบบเครื่องประดับชื่อ Eugene Fontenay
ศิลปะเครื่องประดับอาร์ตนูโว (Art Nouveau)
นักออกแบบเครื่องประดับชื่อ Rene Lalique
นักออกแบบเครื่องประดับชื่อ Charles Lewis Tiffany
ศิลปะเครื่องประดับวิคตอเรีย (Victoria)
ศิลปะเครื่องประดับสมัยใหม่
ศิลปะเครื่องประดับช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1
นักออกแบบเครื่องประดับ Fulco di Verdura
ศิลปะเครื่องประดับอาร์ตเดโค (Art Deco)
ศิลปะเครื่องประดับยุค 1920
ศิลปะเครื่องประดับยุค 1930
นักออกแบบเครื่องประดับเทียมชื่อ McClelland Barclay
ศิลปะเครื่องประดับยุค 1940
บริษัทที่ออกแบบเครื่องประดับเทียมชื่อ Trifari
บริษัทเครื่องประดับเทียมชื่อ Coro
บริษัทเครื่องประดับเทียมชื่อ Boucher
บริษัทเครื่องประดับเทียมชื่อ Haskell
บริษัทเครื่องประดับแท้ชื่อ Cartier
บริษัทเครื่องประดับแท้ชื่อ Van Cleep & Arpels
ศิลปะเครื่องประดับยุค 1950
นักออกแบบเครื่องประดับชื่อ Daniel Swarovski
บริษัทเครื่องประดับเทียมชื่อ Eisenberg
บริษัทเครื่องประดับเทียมชื่อ Hobe
ศิลปะเครื่องประดับยุค 1960
นักออกแบบเครื่องประดับชื่อ Bulgari
ศิลปะเครื่องประดับยุค 1970
ศิลปะเครื่องประดับยุค 1980
ศิลปะเครื่องประดับยุค 1990
ศิลปะเครื่องประดับหลังสมัยใหม่
ศิลปะเครื่องประดับมินิมอล (Minimalism)
ศิลปะเครื่องประดับเชิงศิลปะ
ศิลปะเครื่องประดับเชิงอุตสาหกรรม